(มีคลิป) ภัยแล้งลุกลาม กลุ่มชาวบ้าน อ.ดอยหล่อกว่า 300 คน ร้องกรมชล แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ หลังอ่างเก็บน้ำแห้งขอด กระทบสวนลำไยและมะม่วง ยืนต้นตายนับหมื่นไร่
วันที่ 13 มกราคม 2563 รายงานข่าวแจ้งว่า ได้มีกลุ่มชาวบ้านและกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำจาก 4 ตำบลของอำเภอดอยหล่อ คือ ตำบลสันติสุข ตำบลยางคราม ตำบลดอยหล่อ และตำบลสองแคว รวมกว่า 300 คน นำโดย นายสุวิทย์ ใจพล กำนันตำบลสันติสุข นายบุญทรัพย์ ปัญญา กำนันตำบลดอยหล่อ ว่าที่ ร.ต.สุรพงษ์ กาบวัง นายก อบต.ดอยหล่อ นายทรรศน แสนดวงดี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 22 ต.ดอยหล่อ และนายทิม แสนปุก ประธานผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ นำรถยนต์กระบะบรรทุกถังน้ำนับร้อยคัน รวมตัวกันที่ว่าการอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเรียกร้องให้กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ หลังจากที่อ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลสันติสุขแห้งขอด ส่งผลกระทบกับพื้นที่ทางการเกษตร สวนลำไยและสวนมะม่วงนับหมื่นไร่กำลังจะยืนต้นตาย
นายทิม แสนปุก ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างโป่งจ๊อ เปิดเผยว่า เป็นเวลานานหลายปีแล้วที่อ่างเก็บน้ำโป่งจ๊อไม่สามารถรับน้ำจาก ฝายน้ำล้นแม่ตื่น ที่อยู่เหนือขึ้นไปประมาณ 7 – 8 กิโลเมตร เนื่องจากท่อส่งน้ำชำรุดเสียหาย ทำให้แต่ละปีมีน้ำจากฝายน้ำล้นเข้ามาสู่อ่างเก็บน้ำโป่งจ๊อเพียงเล็กน้อย แต่น้ำได้ไหลลงสู่ลำธารธรรมชาติแทน ซึ่งชาวบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์ ที่ผ่านมาชาวบ้านจึงยื่นเรื่องขอกรมชลประทานเพื่อสร้างฝายกั้นน้ำ ดึงน้ำกลับมาใช้ในอ่างโป่งจ๊อ แต่เรื่องก็เงียบหาย โดยขอไปตั้งแต่ปี 2560 ชลประทานก็ยังไม่ดำเนินการ กระทั่งล่าสุดบอกว่าจะสามารถดำเนินการให้ได้ในปี 2566 ซึ่งนานเกินไป ล่าสุดในปีนี้สถานการณ์ภัยแล้งรุนแรง ไร่สวนของชาวบ้าน เริ่มได้รับผลกระทบ ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง จึงจำเป็นจะต้องรวมตัวกันมาขอความช่วยเหลือในครั้งนี้ โดยหลังยื่นหนังสือ กลุ่มชาวบ้านจะพากันไปตักน้ำจากแม่น้ำปิงที่ประตูระบายน้ำดอยน้อย เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ด้าน นายสุวิทย์ ใจพล กำนันตำบลสันติสุข กล่าวว่า ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาล้วนเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อย่างปีที่ผ่านมาเงินงบประมาณที่ใช้มาแก้ไขหมดไปมากน้อยเท่าไร มัวแต่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุสิ้นเปลืองโดยใช้เหตุ ให้มาแก้ที่ต้นเหตุเพื่อให้เกษตรกรอำเภอดอยหล่อให้ยืนได้โดยลำแข้งของตัวเอง อยากให้มีการแก้ไขปัญหาที่ให้เกิดความยั่งยืนจะทำอย่างไรให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาดำเนินการอย่างจริงจังและจริงใจ
ขณะที่ทางด้าน นายบุญทรัพย์ ปัญญา กำนันตำบลดอยหล่อ กล่าวอีกว่า เป็นเวลานานหลายปีแล้วที่อ่างเก็บน้ำโป่งจ้อไม่สามารถรับน้ำจาก ฝายน้ำล้นแม่ตื่น ที่อยู่เหนือขึ้นไปประมาณ 13 กิโลเมตร เนื่องจากท่อส่งน้ำชำรุดเสียหาย ทำให้แต่ละปีมีน้ำจากฝายน้ำล้นเข้ามาสู่อ่างเก็บน้ำโป่งจ้อเพียงเล็กน้อย แต่น้ำได้ไหลลงสู่ลำธารธรรมชาติแทน ซึ่งชาวบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์ ที่ผ่านมาชาวบ้านจึงยื่นเรื่องขอกรมชลประทานเพื่อสร้างฝายกั้นน้ำ ดึงน้ำกลับมาใช้ในอ่างโป่งจ้อ แต่เรื่องก็เงียบหาย โดยขอไปตั้งแต่ปี 2560 ชลประทานก็ยังไม่ดำเนินการ กระทั่งล่าสุดบอกว่าจะสามารถดำเนินการให้ได้ในปี 2566 ซึ่งนานเกินไป
ล่าสุดในปีนี้สถานการณ์ภัยแล้งรุนแรง ไร่สวนของชาวบ้าน เริ่มได้รับผลกระทบ ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง จึงจำเป็นจะต้องรวมตัวกันมาขอความช่วยเหลือในครั้งนี้ โดยหลังยื่นหนังสือ กลุ่มชาวบ้านจะพากันไปตักน้ำจากแม่น้ำปิงที่ประตูระบายน้ำดอยน้อย เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับพื้นที่ทางการเกษตร สวนลำไยและสวนมะม่วงนับหมื่นไร่กำลังจะยืนต้นตาย ขณะที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเหลือเพียงร้อยล่ะ 30 เท่านั้นและไม่เพียงพอต่อการนำน้ำไปรดสวนลำไย และสวนมะม่วงนับหมื่นไร่ที่กำลังออกดอก ในฤดูกาลนี้
ต่อมาทางด้าน นายวิจัย เพ็ญพัฒนากุล นายอำเภอดอยหล่อ ได้เดินทางมาพบกับกลุ่มผู้ชุมนุม และรับหนังสือ จากนั้นได้แจ้งกับกลุ่มผู้ชุมนุมว่า ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น เป็นปัญหา ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมานานหลายปี ขณะที่ทางอำเภอ ไม่มีงบประมาณที่จะเข้าไปช่วยเหลือแก้ไขได้ แต่ความเดือดร้อนที่ได้รับครั้งนี้ได้ขอให้ชลประทานจังหวัดเชียงใหม่หาแนวทางเข้ามาแก้ไขช่วยเหลือปัญหาให้กับเกษตรกรเป็นการเร่งด่วน และในวันที่ 21 มกราคมนี้ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จะลงพื้นที่อำเภอดอยหล่อเพื่อรับทราบสถานการณ์