เชียงใหม่ออกประกาศ มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในสถานประกอบกิจการของจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในสถานประกอบกิจการของจังหวัดเชียงใหม่ โดยระบุว่า
เพื่อให้การเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ประกอบกับคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้มีการประชุมครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 ซึ่งนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงมหาดไทยสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจกับประชาชนในการ ดําเนินชีวิตทางเศรษฐกิจในระยะผ่อนคลายควบคู่กับมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด ในรูปแบบ การดําเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 42/2563 วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จึงกําหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานประกอบกิจการของจังหวัดเชียงใหม่ ตามรูปแบบการดําเนินชีวิต ในแบบวิถีใหม่ (New Normal) ดังนี้
มาตรการสําหรับสถานประกอบกิจการ มาตรการหลัก 1 ขอความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัย/การตรวจคัดกรอง
1.1 คัดกรองลูกจ้างก่อนเข้าสถานที่ทํางาน เช่น ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ให้สวม หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าก่อนเข้าพื้นที่ สังเกตอาการหากลูกจ้างรายใดมีอาการไอ จาม หรือเป็นหวัด ให้ลูกจ้างรายงานอาการต่อหัวหน้างานหรือฝ่ายบุคคล เพื่อเฝ้าระวัง
1.2 คัดกรองผู้มาติดต่อใช้บริการ เช่น ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าก่อนเข้าพื้นที่ และกําหนดให้ใช้แอปพลิเคชั่น “ไทยชนะ” เพื่อเก็บข้อมูลการเข้า-ออกในสถาน ประกอบกิจการ
1.3 จัดหาหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า สําหรับแจกจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
มาตรการหลัก 2 รักษาสุขอนามัยด้วยการล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยา ฆ่าเชื้อโรคบ่อยๆ
21 จัดหาสบู่ เจลล้างมือแอลกอฮอล์ หรือจัดสถานที่สําหรับล้างมือภายในสถานประกอบ กิจการ เช่น ประตูเข้าห้องทํางาน ประตูทางเข้าไลน์การผลิต ห้องอาหาร ห้องสุขา เป็นต้น เพื่อให้บริการ แก่ลูกจ้างและผู้มาติดต่อใช้บริการ
2.2 ทําความสะอาดพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันและบริเวณที่มีผู้สัมผัสปริมาณมากอย่างสม่ําเสมอ เช่น โต๊ะทํางาน คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการทํางาน ราวบันได ที่จับประตู ห้องน้ํา ด้วยผงซักฟอก น้ํายาทําความสะอาด หรือ แอลกอฮอล์ 70%
2.3 เพิ่มความตระหนักให้กับลูกจ้างทุกคน และรณรงค์ให้ลูกจ้างทุกคนป้องกันตนเอง โดยการสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือก่อนเข้าทํางาน และทุกครั้งที่สัมผัสอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัส จํานวนมาก
มาตรการหลัก 3 หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมหรือในสถานที่ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จํานวนมาก
3.1 ให้ความรู้ คําแนะนํา กรณีที่ลูกจ้างต้องเข้าร่วมประชุม อบรมหรือร่วมกิจกรรม ในสถานที่ที่มีผู้เข้าร่วมจํานวนมาก
3.2 รณรงค์ให้ความรู้ คําแนะนําแก่ลูกจ้างทุกคน เพื่อให้ตระหนักถึงความสําคัญของ การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกไปทํากิจกรรม การล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสอุปกรณ์ สิ่งของที่มีการ ใช้งาน รวมถึงจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคกับลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ เช่น โปสเตอร์กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ การล้างมือที่ถูกวิธี และการสวมหน้ากากอนามัย เป็นต้น
มาตรการหลัก 4 ถือหลักการเว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อยหนึ่งเมตร หลีกเลี่ยง การติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
4.1 จัดระยะห่างของโต๊ะทํางาน พื้นที่ที่มีผู้ติดต่อใช้บริการ หรือสถานที่ปฏิบัติงานของ ลูกจ้าง โดยให้มีการเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร หรือทําฉากกั้นเพื่อลดการสัมผัสระหว่างกัน หากไม่ สามารถทําได้ ควรพิจารณาให้ลูกจ้างทํางานแบบเหลื่อมเวลาหรือทํางานจากบ้าน (Work From Home)
4.2 กําหนดจุดรับ-ส่ง เอกสารสิ่งของไปรษณีย์ หรืออาหาร/เครื่องดื่ม จากบุคคลภายนอก ในแต่ละอาคารให้ชัดเจน
4.3 แจ้งให้พนักงาน/ลูกจ้างทราบ กรณีไม่จําเป็นควรหลีกเลี่ยง ไม่ไปอยู่ในพื้นที่แออัด หรือพื้นที่เสี่ยง
มาตรการหลัก 5 ทําความสะอาดที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ประกอบกิจการหรือกิจกรรม โดยการเช็ดทําความสะอาดพื้นผิวสัมผัสก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
5.1 ทําความสะอาดพื้นที่ทํางาน โต๊ะทํางาน คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทํางาน รวมถึงพื้นผิวรถยนต์ที่มีการใช้งานร่วมกัน เช่น เบาะนั่ง ที่เปิดประตู ที่วางแขน กรณีสถานสถานประกอบกิจมี รถรับ – ส่ง พนักงาน
5.2 กําชับลูกจ้างให้ระมัดระวังการเก็บขยะติดเชื้อ เช่น ทิชชูที่ผ่านการใช้งานแล้ว ซึ่งอาจ ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ก่อนทิ้งขยะควรใส่ถุงปิดมิดชิด หรือทิ้งในถังขยะติดเชื้อ และล้างมือทําความสะอาดเพื่อ ป้องกันการตกค้างของเชื้อโรค
5.3 จัดหาแอลกอฮอล์ 70% หรือเจลแอลกอฮอล์สําหรับล้างมือไว้ในบริเวณประตูทางเข้า ที่พักอาศัย และพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ทางเดินระหว่างห้อง บันได ประตูเข้า-ออก ห้องพักผ่อน ห้องรับแขก/ ผู้มาเยี่ยม ห้องอาหาร เป็นต้น เพื่อให้บริการแก่ผู้พักอาศัยและลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อระหว่าง บุคคลได้ รวมถึงกําชับให้ลูกจ้างดูแลรักษาความสะอาดในที่พักของตนเอง
5.4 ตรวจสอบระบบระบายอากาศ ทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศ
มาตรการหลัก 6 ใช้แอปพลิเคชั่น “ไทยชนะ” เมื่อไปยังสถานที่หรือเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนโรคย้อนหลัง
กําชับลูกจ้างให้ปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ในการเช็คอิน – เช็คเอ้าท์ ตามสถานที่ที่กําหนดทุกครั้ง
มาตรการสําหรับลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ
(1) ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ เพื่อใช้ป้องกันการแพร่หรือรับเชื้อ สําหรับตนเองและเพื่อนร่วมงาน
(2) ทําความสะอาดเครื่องใช้และอุปกรณ์ที่ใช้ในงาน เช่น โต๊ะทํางาน คอมพิวเตอร์ ด้วยน้ำยา ทําความสะอาด และแอลกอฮอลล์ 70%
(3) หากสังเกตเห็นเพื่อนร่วมงานมีอาการไอ จาม ผิดปกติ ให้แจ้งหัวหน้างานเพื่อจัดหา หน้ากากอนามัย หรือให้คําแนะนําในการปฏิบัติตัวแก่ลูกจ้างดังกล่าว
(4) หากพบว่าตนเองเริ่มมีอาการผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา หรือหยุดพักเพื่อ เฝ้าระวังและรักษาตัวที่บ้าน หรือถ้ามีความจําเป็นต้องไปทํางานให้สวมหน้ากากอนามัย
มาตรการสําหรับผู้มาติดต่อ/ผู้ใช้บริการ
(1) สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าก่อนเข้าพื้นที่ และตลอดเวลาที่อยู่ภายในสถาน ประกอบกิจการ
(2) ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายตามมาตรการคัดกรอง หากมีอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 องศา เซลเซียส จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพื้นที่ภายในสถานประกอบกิจการ
(3) ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือสบู่ ณ จุดที่จัดไว้ให้บริการ ก่อนเข้าพื้นที่ภายในสถาน ประกอบกิจการ
(4) ใช้แอปพลิเคชั่น “ไทยชนะ” เพื่อลงทะเบียนข้อมูลเบื้องต้นของผู้มาติดต่อหรือ ผู้ใช้บริการ หรือลงทะเบียนโดยแจ้งชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ปัจจุบัน เวลาเข้า-ออกพื้นที่ เพื่อสามารถติดตามได้ใน กรณีมีเหตุที่สงสัยว่าอาจพบผู้ติดเชื้อในพื้นที่ของสถานประกอบกิจการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่