เผยภาพ “ดาวหางนีโอไวส์” อวดโฉมเหนือฟ้าเชียงใหม่ ครั้งเดียวในรอบกว่า 6000 ปี ชี้!! ค่ำนี้ 23 กรกฎาคม 2563 จะเข้าใกล้โลกมากที่สุด

453
เผยภาพ “ดาวหางนีโอไวส์” อวดโฉมเหนือฟ้าเชียงใหม่ ครั้งเดียวในรอบกว่า 6000 ปี ชี้!! ค่ำนี้ 23 กรกฎาคม 2563 จะเข้าใกล้โลกมากที่สุด

เผยภาพ “ดาวหางนีโอไวส์” อวดโฉมเหนือฟ้าเชียงใหม่ ครั้งเดียวในรอบกว่า 6000 ปี ชี้!! ค่ำนี้ 23 กรกฎาคม 2563 จะเข้าใกล้โลกมากที่สุด

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สดร.) เผยภาพ ดาวหางนีโอไวส์ เหนือฟ้าเชียงใหม่ ชี้ค่ำนี้ 23 กรกฎาคม 2563 จะเข้าใกล้โลกมากที่สุด สังเกตได้ช่วงหลังดวงอาทิตย์ตก ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้เก็บภาพดาวหางดวงนี้ก่อนที่ความสว่างจะเริ่มลดลงและแสงดวงจันทร์จะเริ่มรบกวน

02

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานักดาราศาสตร์และผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจดาวหางนีโอไวส์ ซึ่งเป็นดาวหางสว่างที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าในหลายพื้นที่ทั่วโลก มีผู้เก็บภาพได้และเผยแพร่ลงในสื่อต่างๆ กันอย่างคึกคัก โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และจะเข้าใกล้โลกที่สุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2563

03

สำหรับประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคม 2563 ดาวหางนีโอไวส์ปรากฏในช่วงรุ่งเช้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ตำแหน่งใกล้ขอบฟ้ามาก สังเกตได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเพิ่งโคจรผ่านจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด จึงถูกแสงอาทิตย์กลบ แต่ในช่วงครึ่งหลัง ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นมา ดาวหางนีโอไวส์เปลี่ยนมาปรากฏในช่วงหัวค่ำ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลายพื้นที่เริ่มสังเกตเห็นและบันทึกภาพได้ นับจากวันดังกล่าว ดาวหางจะมีความสว่างลดลง เนื่องจากโคจรห่างจากดาวงอาทิตย์ออกไปเรื่อย ๆ

04

ในวันที่ 23 กรกฎาคม เป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้ยลโฉมและบันทึกภาพความสวยงามของดาวหางดวงนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด หลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ในวันดังกล่าว ตรงกับคืนดวงจันทร์ขึ้น 2 ค่ำ อาจมีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย แต่อุปสรรคสำคัญที่สุดคือสภาพอากาศของประเทศไทยซึ่งอยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีเมฆมาก บริเวณใกล้ขอบฟ้ามีเมฆปกคลุมค่อนข้างหนา

05

สำหรับสถานที่เก็บภาพดาวหางนีโอไวส์ นายศุภฤกษ์ แนะนำว่าควรเป็นสถานที่ที่ฟ้าใส ไม่มีเมฆบดบัง เป็นพื้นที่ค่อนข้างสูง มีมุมมองเปิดกว้างไปทางทิศตะวันตก และสิ่งสำคัญที่สุดของการถ่ายภาพดาวหางคือ ต้องหาตำแหน่งให้เจอ ทั้งนี้สามารถศึกษาเทคนิคการถ่ายภาพดาวหาง ได้ที่ http://www.narit.or.th/…/astro-ph…/1200-neowise-photo-artcle 

ข้อมูลดาวหางนีโอไวส์

ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) เป็นดาวหางคาบยาว จากข้อมูลล่าสุดพบว่าโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 6,767 ปี ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer : WISE) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ในโครงการสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อยและวัตถุใกล้โลก ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ระยะห่าง 43 ล้านกิโลเมตร และจะเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกที่สุด ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ที่ระยะห่าง 103 ล้านกิโลเมตร

06
07
08