ขนส่งทางบก เยียวยาทำใบขับขี่ ยกเว้นการสอบข้อเขียน-สอบขับรถ สำหรับใบขับขี่ที่หมดอายุเกิน 1 ปี และ 3 ปี

2213

ขนส่งทางบก เยียวยาทำใบขับขี่ ยกเว้นการสอบข้อเขียน-สอบขับรถ สำหรับใบขับขี่ที่หมดอายุเกิน 1 ปี และ 3 ปี

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ และผู้ขอรับบัตรประจำตัวคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2564

โดยมาตรการเยียวยารองรับให้ผู้ที่ใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถสิ้นอายุเกิน 1 ปี หรือ 3 ปี ในช่วงที่กรมการขนส่งทางบกงดการอบรมที่สำนักงาน ดังนี้

1. ผู้ที่ใบอนุญาตขับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ สิ้นอายุเกิน 1 ปี ในระหว่างวันที่ 4 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ได้รับการยกเว้นการทดสอบข้อเขียน แต่ยังต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย และอบรมภาคทฤษฎี จากเดิม ต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย อบรมภาคทฤษฎี และทดสอบข้อเขียน

2. ผู้ที่ใบอนุญาตขับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ สิ้นอายุเกิน 3 ปี ในระหว่างวันที่ 4 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ได้รับการยกเว้นการทดสอบขับรถ แต่ยังต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย อบรมภาคทฤษฎี และทดสอบข้อเขียน จากเดิม ต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย อบรมภาคทฤษฎี ทดสอบข้อเขียน และทดสอบขับรถ

3. ผู้ที่ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สิ้นอายุเกิน 3 ปี ในระหว่างวันที่ 4 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ได้รับการยกเว้นการทดสอบขับรถ แต่ยังต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย และอบรมภาคทฤษฎี จากเดิม ต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย อบรมภาคทฤษฎี และทดสอบขับรถ

4. เอกสารประกอบคำขอรับหรือต่ออายุใบอนุญาตขับรถหรือผู้ประจำรถ เช่น ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการผ่านการอบรมและทดสอบ คำขอที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ผลผ่านการอบรมจากระบบ e-Learning ที่สิ้นอายุ อนุโลมให้ใช้ประกอบการดำเนินการด้านใบอนุญาตขับรถได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564

กรมการขนส่งทางบก ขอความร่วมมือไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ผ่อนผันการบังคับใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง กับผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถที่สิ้นอายุแล้ว ยังสามารถใช้แสดงตนได้ จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564

Dk4ARS.jpg

T 0001 page 001
T 0001 page 002