ด่วน! เชียงใหม่ออกคำสั่ง “ห้ามสาดน้ำ-ประแป้ง-คอนเสิร์ต-ปาร์ตี้โฟม-รำวง ” ช่วง 10-20 เม.ย. 64 นี้ ฝ่าฝืนโทษหนัก ทั้ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

2580

ด่วน! เชียงใหม่ออกคำสั่ง “ห้ามสาดน้ำ-ประแป้ง-คอนเสิร์ต-ปาร์ตี้โฟม-รำวง ” ช่วง 10-20 เม.ย. 64 นี้ ฝ่าฝืนโทษหนัก ทั้ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันที่ 2 เมษายน 2564 คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกคําสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 21/2564 เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมโรคในเทศกาลสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2564 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ด้วยศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก. ศบค.) ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 ที่ประชุมได้มีข้อสั่งการเกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กระทรวงมหาดไทยเน้นย้ําให้ผู้จัดกิจกรรมและประชาชนปฏิบัติตาม มาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดในการจัดกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากในช่วงเทศกาล สงกรานต์ของแต่ละปี จะมีการจัดงานหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประเพณี และวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ มีการเล่นสาดน้ํา เล่นประแป้ง มีการรวมกลุ่มคนเป็นจํานวนมาก และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19

ดังนั้น อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 34 มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อ 7 (1) ของข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และ ข้อ 5 ของข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัดเชียงใหม่ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 32/2564 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 จึงกําหนดมาตรการ ดังนี้

ข้อ 1 ห้ามจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้

1.1 การรวมกลุ่มสาดน้ํา รวมถึงการใช้ยานพาหนะบรรทุกคนและภาชนะบรรจุน้ํา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสาดน้ํา

1.2 การจัดคอนเสิร์ต หรือการแสดงดนตรีโดยมีลักษณะการแสดงต่อสาธารณชน ที่ทําให้เกิดการรวมกลุ่มของคนจํานวนมาก ซึ่งอาจจะทําให้เกิดภาวะไร้ระเบียบของผู้เข้าชม เช่น การเต้น การตะโกนร้องเพลง

1.3 กิจกรรมที่มีการสัมผัสใกล้ชิดกัน เช่น การเล่นประแป้ง การเล่นปาร์ตี้โฟม ฯลฯ

1.4 การจัดรําวง ในลักษณะที่มีคู่เต้นรําพร้อมวงดนตรี ซึ่งมีการเต้นรําบนเวทีหรือ สถานที่ที่จัดไว้

1.5 การจัดขบวนแห่ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการรวมกลุ่มของคนจํานวนมาก ซึ่งอาจจะทําให้เกิดภาวะไร้ระเบียบของผู้คน ยกเว้นขบวนแห่ตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น โดยต้องปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัยทุกคน จํากัดจํานวนผู้เข้าร่วม กิจกรรมมิให้แออัดตามขนาดพื้นที่ มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร ตรวจวัดอุณหภูมิ ร่างกายก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ใช้แอปพลิเคชั่นไทยชนะในการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จัดให้มีการบริการล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลหรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรคก่อนเริ่มเดินขบวน และจัดให้มี เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ว่าผู้เข้าร่วมขบวนได้ผ่านการคัดกรองตามมาตรการป้องกันโรคแล้ว

ข้อ 2 ให้ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ที่มีลักษณะเป็น ซุ้มอาหาร เรือนแพ ร้านค้า ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ํา ลําคลอง บึง ทะเลสาบ หรืออ่างเก็บน้ํา ที่มีนักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการ ต้องทําบันทึกข้อตกลงในการจัดให้มีมาตรการป้องกันโรคกับศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคในพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค มีอํานาจเข้าตรวจสอบ กํากับดูแลให้ปฏิบัติตามมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติ ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ที่ทางราชการกําหนด รายละเอียดปรากฏตามบันทึกข้อตกลงในการจัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามแนบท้าย คําสั่งฉบับนี้

ข้อ 3 การจัดแสดงดนตรีในสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ หรือสถานที่อื่นใด เป็นปกติประจํา สามารถดําเนินการได้ ทั้งนี้ ให้มีความระมัดระวังมิเข้าข่ายการจัดกิจกรรมในข้อ 1.2

ข้อ 4 การจัดกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์ โดยกิจกรรมพื้นฐาน อาทิ การจัดพิธีสรงน้ําพระ รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ ทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณี การจัดพิธีรดน้ําดําหัวผู้ใหญ่ สามารถดําเนินการได้ ทั้งนี้ ให้ผู้จัดกิจกรรมและประชาชน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด ดังนี้

(1) จัดให้มีมาตรการคัดกรองใช้ และอาการผิดปกติก่อนเข้าร่วมกิจกรรม

(2) ทําความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย

(3) ให้ผู้จัดกิจกรรม และผู้ร่วมกิจกรรมสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ตลอดเวลาที่ทํากิจกรรม

(4) ให้เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และระยะห่างระหว่างโต๊ะ อย่างน้อย 2 เมตร หรือมีฉากกั้นทดแทนได้

(5) ให้ควบคุมจํานวนผู้ร่วมกิจกรรม มิให้แออัด โดยคิดคํานวณผู้ร่วมกิจกรรมตาม ขนาดพื้นที่เกณฑ์ประมาณ 4 ตารางเมตรต่อผู้ร่วมกิจกรรม 1 คน

(6) จัดให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลหรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรค

(7) จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี

(8) ให้มีการควบคุมทางเข้าและออก ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และลงทะเบียนแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” กรณีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีสมาร์ทโฟน ให้จัดผู้รับผิดชอบบันทึก ข้อมูลลงในกระดาษให้ชัดเจน โดยเฉพาะที่อยู่หรือหมายเลขโทรศัพท์

การดําเนินการตามคําสั่งนี้ เป็นไปตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จึงไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมายว่าด้วย การจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาทางปกครอง ตามมาตรา 16 ของพระราชกําหนดดังกล่าว

ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามมาตรา 18 แห่ง พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 20 เมษายน 2564

สั่ง ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564 นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดเชียงใหม่

คำสั่ง 21 สงกรานต์ page 001
คำสั่ง 21 สงกรานต์ page 002
คำสั่ง 21 สงกรานต์ page 003
คำสั่ง 21 สงกรานต์ page 004
คำสั่ง 21 สงกรานต์ page 005