เสียหายหนัก! กรมศิลป์ตรวจกำแพงโบราณ ‘วัดยางกวง’ หลังโดนพายุถล่ม พบรอยแตกที่เสาศาลาบาตร เร่งประสานวัดบูรณะ หวั่นพังถล่ม
รายงานข่าวแจ้งความคืบหน้าเหตุพายุพัดถล่มและฝนตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมาจนทำให้กำแพงดินโบราณที่วัดยางกวง ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พังถล่มลงมาเป็นแนวยาวเกือบ 10 เมตร และ ทำให้รถยนต์กระบะที่จอดริมกำแพงได้รับความเสียหายเล็กน้อย ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความตื่นตกใจให้กับชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวที่ทราบข่าว
ล่าสุดวันที่ 3 พ.ค. 64 นายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ พร้อมเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการตรวจสอบทางกายภาพพบว่าทางวัดมีการเปลี่ยนแปลงการใช้โบราณสถาน โดยมีการยกพื้นสร้างศาลาบาตรล้อมรอบองค์พระธาตุ ฝนที่ตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้น้ำไหลซึมลงไปในดินจนเกิดแรงดันในชั้นดิน ก่อนจะส่งแรงเคลื่อนตัวออกด้านข้างที่เป็นกำแพง
นายเทอดศักดิ์ เปิดเผยว่า วัดยางกวงได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่มีวัดเป็นผู้ครอบครอง กำแพงวัดที่เสียหายเป็นกำแพงทำจากอิฐอายุประมาณ 100 ปี ถือเป็นโบราณสถานสำคัญ โดยจากการตรวจสอบพบว่าจะที่กำแพงถูกดันออกมาเป็นจุดที่ก่ออิฐบางทำให้รับแรงดันได้ไม่มาก ส่วนความเสียหายต้องประเมินอย่างละเอียดอีกครั้ง
นอกจากตัวกำแพงที่เสียหาย ยังพบว่าบริเวณฐานเสาศาลาบาตรมีรอยฉีกของปูนหลายต้น ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ แต่ประเมินแล้วพบว่ามีความเสี่ยงต่อความมั่นคงแข็งแรง หากเกิดฝนตกหนักและน้ำซึมเข้าไปมาก อาจทำให้ชั้นดินด้านใต้ฐานเคลื่อนตัวได้อีก
สำหรับการบูรณะซ่อมแซม สำนักศิลปากรที่ 7 จะหารือกับทางวัดเพื่อหาแนวทางการป้องกัน โดยตัวจะต้องมีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย และ มีความเหมาะสมตามรูปแบบสถาปัตยกรรมของโบราณ
มีรายงานว่านอกจากวัดยางกวง ความรุนแรงของลมพายุยังทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่วัดอุโมงค์ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ หักโค่นล้มทับหลังคากุฏิและศาลาพระพุทธรูปได้รับความเสียหาย โชคดีพระเณรไม่เป็นอันตราย ล่าสุดทางวัดเร่งเคลียร์พื้นที่และซ่อมแซมเนื่องจากยังคงมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่อีกหลายวัน
รายงานข่าวแจ้งความคืบหน้าเหตุพายุพัดถล่มและฝนตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมาจนทำให้กำแพงดินโบราณที่วัดยางกวง ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พังถล่มลงมาเป็นแนวยาวเกือบ 10 เมตร และ ทำให้รถยนต์กระบะที่จอดริมกำแพงได้รับความเสียหายเล็กน้อย ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความตื่นตกใจให้กับชาวบ้านในบริเวณดังกล่าวที่ทราบข่าว
ล่าสุดวันที่ 3 พ.ค. 64 นายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ พร้อมเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการตรวจสอบทางกายภาพพบว่าทางวัดมีการเปลี่ยนแปลงการใช้โบราณสถาน โดยมีการยกพื้นสร้างศาลาบาตรล้อมรอบองค์พระธาตุ ฝนที่ตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้น้ำไหลซึมลงไปในดินจนเกิดแรงดันในชั้นดิน ก่อนจะส่งแรงเคลื่อนตัวออกด้านข้างที่เป็นกำแพง
นายเทอดศักดิ์ เปิดเผยว่า วัดยางกวงได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่มีวัดเป็นผู้ครอบครอง กำแพงวัดที่เสียหายเป็นกำแพงทำจากอิฐอายุประมาณ 100 ปี ถือเป็นโบราณสถานสำคัญ โดยจากการตรวจสอบพบว่าจะที่กำแพงถูกดันออกมาเป็นจุดที่ก่ออิฐบางทำให้รับแรงดันได้ไม่มาก ส่วนความเสียหายต้องประเมินอย่างละเอียดอีกครั้ง
นอกจากตัวกำแพงที่เสียหาย ยังพบว่าบริเวณฐานเสาศาลาบาตรมีรอยฉีกของปูนหลายต้น ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ แต่ประเมินแล้วพบว่ามีความเสี่ยงต่อความมั่นคงแข็งแรง หากเกิดฝนตกหนักและน้ำซึมเข้าไปมาก อาจทำให้ชั้นดินด้านใต้ฐานเคลื่อนตัวได้อีก
สำหรับการบูรณะซ่อมแซม สำนักศิลปากรที่ 7 จะหารือกับทางวัดเพื่อหาแนวทางการป้องกัน โดยตัวจะต้องมีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย และ มีความเหมาะสมตามรูปแบบสถาปัตยกรรมของโบราณ
มีรายงานว่านอกจากวัดยางกวง ความรุนแรงของลมพายุยังทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่วัดอุโมงค์ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ หักโค่นล้มทับหลังคากุฏิและศาลาพระพุทธรูปได้รับความเสียหาย โชคดีพระเณรไม่เป็นอันตราย ล่าสุดทางวัดเร่งเคลียร์พื้นที่และซ่อมแซมเนื่องจากยังคงมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่อีกหลายวัน