เช็คก่อนฉีด !! โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลการฉีดวัคซีน กรณีไหนบ้างที่ฉีดวัคซีนโควิดได้ และ กรณีไหนที่ฉีดไม่ได้ มาเช็คดูกันเลย 

482

เช็คก่อนฉีด !! โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลการฉีดวัคซีน กรณีไหนบ้างที่ฉีดวัคซีนโควิดได้ และ กรณีไหนที่ฉีดไม่ได้ มาเช็คดูกันเลย 

กรณีไหนบ้างที่ห้ามฉีด
– เคยแพ้วัคซีนโควิดแบบรุนแรง : เช่น ฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรกแล้วแพ้รุนแรงก็ไม่ควรฉีดวัคซีนชนิดเดิมในเข็มต่อไป อาจพิจารณาวัคซีนชนิดอื่นแทน ส่วนกรณีที่เคยแพ้วัคซีนชนิดอื่นๆมาก่อน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดค่ะ
– ป่วยเป็นไข้,ไม่สบาย : แนะนำให้เลี่ยงการฉีดไปก่อน รอให้หายป่วย 10-14 วันจึงค่อยฉีด
– ตั้งครรภ์ ไม่เกิน 12 สัปดาห์ควรเลี่ยงการฉีดไปก่อน จนกว่าอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์จึงจะฉีดวัคซีนได้
– เด็ก อายุต่ำกว่า 18 ปี : ขณะนี้วัคซีนส่วนใหญ่จะยังไม่แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ยกเว้นวัคซีนของไฟเซอร์ที่บางประเทศอนุมัติให้ฉีดในเด็กอายุ 12 ปี ขึ้นไป
กรณีไหนที่สามารถฉีดได้ (ไม่มีข้อห้ามในการฉีด)
– สตรีให้นมบุตร : ฉีดได้ และสามารถให้บุตรทานนมได้
– สตรีที่วางแผนตั้งครรภ์ : ฉีดได้
– มีประจำเดือน : ฉีดได้
– กินยาคุมกำเนิด : ปกติการกินยาคุมกำเนิดมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้อยู่แล้ว แม้ไม่ได้ฉีดวัคซีน แต่มีโอกาสเกิดน้อยมาก ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่ถือว่าเป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน , ผู้ที่มีประวัติเกี่ยวกับโรคลิ่มเลือดควรปรึกษาแพทย์ หากมีความกังวลแนะนำให้หยุดกินยาคุมแล้วคุมกำเนิดวิธีอื่นแทนไปก่อนค่ะ
– มีโรคประจำตัว เบาหวาน,ไขมันสูง,ไตวาย,โรคหัวใจ,โรคหลอดเลือดสมอง,โรคทางระบบประสาท,โรคภูมิแพ้,เอสแอลอี ที่อาการสงบ สามารถฉีดได้
– ความดันโลหิตสูง : ฉีดได้ถ้าความดันตัวบน (Systolic BP) < 160 mmHg
– โรคเอดส์ : ที่อาการสงบสามารถฉีดได้ อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษาก่อนฉีด
– โรคมะเร็ง : ฉีดได้ถ้าเม็ดเลือดขาว > 1,000 กรณีมะเร็งระบบเลือด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อน
– เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ : ฉีดได้
– เคยแพ้ยา,แพ้อาหาร : ฉีดได้
– เคยติดเชื้อโควิด : ฉีดได้ หลังจากหายป่วยอย่างน้อย 3 เดือน
– ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่,บาดทะยัก : ฉีดได้ แต่ควรเว้นระยะห่างจากวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 เดือน
– ทานยาละลายลิ่มเลือดวาฟาริน (Wafarin) : ฉีดได้ ถ้า INR < 3.0
– ทานยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน : ฉีดได้
– ผู้ป่วยจิตเวช : ฉีดได้ ถ้าอาการสงบ ทานยาได้ตามปกติ
– ได้รับการถ่ายเลือด : ฉีดได้
กรณีที่มีข้อสงสัยแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาท่านก่อนฉีดวัคซีนค่ะ
วัคซีนทุกชนิดมีผลข้างเคียงและมีโอกาสเกิดการแพ้วัคซีนได้ ดังนั้นผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนต้องสังเกตอาการตนเองหลังฉีดนะคะ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการฉีดวัคซีนทั่วโลก พบว่าผลข้างเคียงของวัคซีนส่วนใหญ่เป็นผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ผลข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้นได้บ้างแต่พบน้อยมาก ขณะที่การระบาดของโรคโควิดมีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกและเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่จึงเป็นหนทางที่จะทำให้เราก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน มาฉีดวัคซีนกันค่ะ
blank
ที่มา : รพ.นครพิงค์