คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผย 7 ขั้นตอนการช่วยชีวิตพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นการ ช่วยชีวิตคนข้างๆด้วยมือทั้งสองข้างของคุณเอง ทุกคนสามารถทำได้
เหตุการณ์หัวใจหยุดเต้นกระทันหัน มากว่า 70% มักเกิดขึ้นที่บ้าน ผู้ที่จะช่วยให้คนที่เรารักมากที่สุดรอดชีวิต ก็คงจะมีแต่ตัวเราเองเท่านั้น ฉะนั้นหากเราไม่มีความรู้พื้นฐานการช่วยชีวิตเลย รอรถพยาบาลอย่างเดียว จะทำให้การช่วยเหลือชีวิตล้าภายใน 4 นาที จะทำให้สมองขาดเลือดและจะไม่กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกเลย ซึ่งน่าเสียดายเขาอาจกลลับมามีชีวิตและลมหายใจต่อได้ เพียงแค่ปั๊มหัวใจด้วยมือทั้งสองข้างของคุณเอง ภายใน 4 นาทีแรก
ขั้นตอนการช่วยชีวิตพื้นฐานในผู้ใหญ่สำหรับประชาชนทั่วไป
1. ตรวจดูความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ
2. ตรวจยืนยันว่าผู้ป่วยหมดสติจริง และตะโกนขอความช่วยเหลือทันที
3. โทรเบอร์ฉุกเฉิน 1669 และรีบนำเครื่อง AED มา และให้ทำตามคำแนะนำทางโทรศัพท์
4. ดูการหายใจ ถ้าหายใจปกติให้เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วยรอทีมช่วยชีวิตมาถึง ถ้าหายใจผิดปกติ (หายใจเฮือก) หรือไม่หายใจ ถ้าไม่แน่ใจว่าหายใจหรือไม่ ให้เริ่มกดหน้าอกทันที
5. เริ่มกดหน้าอกทันทีบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก กดลึก(มากกว่า 5 ซม.) ,กดเร็ว (100-120ครั้ง/นาที),ขัดจังหวะการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด ,ปล่อยหน้าอกคืนตัวสุดก่อนกดครั้งถัดไป ตำแหน่งการกดหน้าอก ให้กดตรงกึ่งกลางท่อนล่างของกระดูกหน้าอกโดยใช้สันมือกด
6. กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง
7. เมื่อ AED มาถึง ให้ใช้ AED วิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจต้องช็อกฟ้าหรือไม่ กรณีให้ช็อกไฟฟ้า ช็อกไฟฟ้าแล้วทำCPR โดยเริ่มกดหน้าอกทันที ,กรณีไม่แนะนำให้ช็อกไฟฟ้า ให้ทำ CPR ต่อโดยเริ่มกดหน้าอกทันที ทำ CPR ต่อเนื่องจนกว่าทีมช่วยชีวิตมาถึงหรือเมื่อเห็นผู้ป่วยเคลื่อนไหวหรือหายใจปกติ
การปั๊มหัวใจที่เหมาะสม ควรปั๊มคนละ 2 นาที หรือปั๊ม 200 ครั้ง แล้วจึงสลับคนปั๊มเปลี่ยน ให้คนอื่นมาปั๊มต่อ เพื่อเป็นการพักให้มีแรงปั๊มในรอบต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะฟื้น การตัดสินใจทำ CPR ช่วยเหลือชีวิตคนไม่ถือว่าเป็นความผิด มีกฎหมายคุ้มครองผู้ช่วยชีวิต การปั๊มหัวใจและการใช้เครื่องช็อกหัวใจถือเป็นการปฐมพยาบาลตามกฎหมาย เราสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยโดยไม่ต้องกลัวความผิด ทำดีกว่าไม่ทำ ไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกการช่วยชีวิตพื้นฐานมาก่อน แค่ปั๊มสมองก็จะรอดกลับมาเป็นปกติ
ข้อมูลโดย ผศ.ดร.นพ.บวร วิทยชำนาญกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคู่มือช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน พศ.2561
ลิ้งค์บทความ : https://www.facebook.com/medcmuth/posts/4137611936277131