ธ.ก.ส.ออกมาตรการ สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร และสินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) หนุนผู้ประกอบการธุรกิจ ร้านอาหาร ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด19

482

ธ.ก.ส. ออกมาตรการ สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร และสินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) หนุนผู้ประกอบการธุรกิจ ร้านอาหาร ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด19

1.สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือค่าลงทุนในการประกอบธุรกิจ วงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 – 2 ร้อยละ 4 ต่อปี ปีที่ 3 – 10 อัตรา MRR-1 / MLR / MOR ตามประเภทของลูกค้า
สำหรับเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการมี 4 ข้อ คือ
(1) มีตลาดหรือคู่ค้าที่ชัดเจนแน่นอน
(2) มีกำลังการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการสินค้าของตลาด (Matching Capacity)
(3) มีการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร
(4) มีการสร้างประโยชน์เพิ่มให้กับเกษตรกรหรือชุมชนผู้ผลิต (ต้นน้ำ) หรือมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
2.มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรก โดยรัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยแทนผู้กู้ในช่วง 6 เดือนแรก กำหนดชำระคืนภายใน 5 ปี หลักประกันเงินกู้ใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันสินเชื่อทั้งจำนวนตลอดระยะเวลากู้เงิน สำหรับลูกค้าเดิม ขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หรือ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท
สำหรับคุณสมบัติคือ เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย มีสถานะไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand : SET) ยกเว้น บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment : MAI) ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 9 เมษายน 2566
สนใจติดต่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา โทร.02-555 -0555
blank blank
ที่มา : รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล