ตำรวจไซเบอร์ทลายเครือข่ายหลอกลงทุนคริปโท P Miner ยึดทรัพย์สินทั้งรถหรู แบรนด์เนม รวมถึงอุปกรณคอมฯที่เอาไว้ขุด
วันที่ 6 ก.ย.65 พลตำรวจโท กรชัย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แถลงข่าว การทลายเครือข่ายหลอกลงทุน P Miner ซึ่งบื้องต้นตรวจยึดของกลางที่เชื่อว่าได้มาจากการกระทำความผิดหลายรายการ อาทิเช่น รถยนต์ ยี่ห้อ เบนท์ลี่ย์ เบนเทย์ก้า, ยี่ห้อ ลัมบอร์กีนี ฮูราคาน, ยี่ห้อ เฟอร์รารี่ สไปเดอร์, ยี่ห้อพอร์เชอ 718 บ็อกสเตอร์, ยี่ห้อ บีเอ็มดับเบิลยู เอ็กซ์โฟร์, รถจักรยานยนต์ยี่ห้อ ฮาร์ลีย์ เดวิดสัน, เครื่องขุดเหรียญดิจิทัล 50 เครื่อง อีกทั้งยังสามารถอายัดเงินในบัญชีของขบวนการผู้ต้องหาได้ 117 บัญชี อายัดเงินในบัญชีได้กว่า 112 ล้านบาท เป็นของกลางที่ตำรวจ สืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์ ยึดได้ หลังเข้าตรวจค้นบ้านพักใน จังหวัดเชียงใหม่ของ เครือข่ายนายกิติกร CEO ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พี มายเนอร์ คริปโคเคอร์เรนซี่ กรุ๊ป
พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการ สอท. เปิดเผยว่า คดีนี้ได้รับการร้องเรียนจากประชาชน ที่ถูกชักชวนให้สมัครเป็นสมาชิก และร่วมลงทุนจุดเหรียญและเทรดเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี เครือข่าย หลอกลงทุน P Miner ตามโครงการต่างๆ มากกว่า 30 โครงการ โดยมีการอ้างว่า ผู้ที่ลงทุนเป็นเงินจำนวน 50000 บาท จะได้รับการคืนทุน 5 ครั้ง ทุกวันที่ 6 ของเดือนโดยแบ่งเป็นงวดๆ ละ8,000 บาท 13,000 บาท 16,000 บาท 20,000 บาท และ 24,000 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงิน 80,000 บาท บางโครงการอ้างว่าได้กำไรมากถึงร้อยละ 82 ต่อเดือน หรือได้กำไรร้อยละ 1,000 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายจะพึงจ่ายได้
จากนั้นเมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปแล้ว ก็จะได้รับหนังสือ สัญญาการลงทุนซึ่งในสัญญาจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนไม่ว่าจะเป็น ชื่อโครงการที่ลงทุน จำนวนเงินที่ลงทุน นะยะเวลาที่ลงทุน จำนวนครั้งและจำนวนผลตอบแทนที่จะได้รับเงินกลับมา เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่ามีการลงทุนจริง ทั้งนี้ในช่วงแรกของการเริ่มลงทุน ผู้เสียหายจะได้รับผลตอบแทนกลับมาบางส่วนจริงต่อมาเมื่อเดือน ส.ค.65 ผู้เสียหายไม่ได้รับเงินปันผลจากการลงทุนแต่อย่างมด ผู้ต้องหาอ้างเหตุขัดข้อง ต่างๆ และไม่สามารถติดต่อได้ในเวลาต่อมา ผู้เสียหายเชื่อว่าถูกหลอกลวงจึงมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ต้องหาตามกฎหมาย
ซึ่งผู้ต้องหายังอยู่ระหว่างการหลบหนีหมายจับของศาลอาญาในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน รวมทั้งข้อหาร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตามพรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1)