เทศบาลนครเขียงใหม่พร้อมจัดงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2566 อย่างยิ่งใหญ่ ย้อนรอยประเพณีพื้นเมืองอันงดงาม

550

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่างานป๋าเวณีปีใหม่เมือง (ประเพณีสงกรานต์) ประจำปี 2566 นี้ เทศบาลนครเชียงใหม่จะกลับมาจัดงานอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งหลังจากต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาหลายปี โดยจะเป็นการย้อนรอยประเพณีพื้นเมืองที่เก่าแก่สวยงามนำกลับมาจัดอีกครั้ง และยังมีกิจกรรมต่างๆ มากมายทั้งกลางวัน และ กลางคืน เช่น การตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ไทย ขบวนแห่พระพุทธสิหิงส์และพระพุทธรูปสำคัญ การแสดงแสงสีเสียง การประกวดเทพีเทพบุตรสงกรานต์ ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ส้มผัสกับวัฒนธรรมล้านนาที่งดงามและเป็นอกลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่

blank

นอกจากนี้ จังหวัดเชียงใหม่ยังเป็นแห่งเดียวที่มีคูเมืองให้ประชาชนได้เล่นน้ำสงกรานต์ และสืบเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงใหม่ในปีที่แล้ว ทำให้คูเมืองเชียงใหม่มีโคลนเลนสะสมในปริมาณที่มาก สำนักช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ จึงต้องได้ลดระดับน้ำในคูเมือง และขุดลอกตะกอน พร้อมทั้งกำจัดวัชพืช และนำสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากคูเมือง ในระหว่างวันที่ 20 – 31 มีนาคม 2566 หลังจากนั้น ระหว่างวันที่ 1 – 5 เมษายน 2566 จะนำน้ำเข้าสู่คูเมือง และดำเนินการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ระหว่างวันที่ 6 – 8 เมษายน 2566 ต่อไป

blank

นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ยังขอความร่วมมือจากประชาชนชาวเชียงใหม่ในการสวมใส่ชุดพื้นเมือง และพูดจาภาษาพื้นเมืองล้านนา (คำเมือง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ได้พบเห็นเกิดความประทับใจ และเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมล้านนาผ่านรูปแบบ soft power ที่ดีอีกรูปแบบหนึ่ง

blank

รายละเอียดกิจกรรมภายในงานป๋าเวณีปีใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2566 Songkran Chiang Mai Festival 2023 (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2566)
1. กิจกรรมพิธีทางศาสนา
– พิธีบวงสรวงเศียรท้าวกบิลพรหม (วันที่ 12 เมษายน 2566 ณ สนง.เทศบาลนครเชียงใหม่)
– พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ (วันที่ 13 เมษายน 2566 ณ ช่วงประตูท่าแพ)

2. กิจกรรมพิธีเปิดงานป๋าเวณีปีใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2566

3. กิจกรรมสืบสานตำนานป๋าเวณีปีใหม่เมือง
– ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์และพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่
(วันที่ 13 เมษายน 2566 ณ วัดพระสิงห์ และเริ่มจากสี่แยกสันป่าข่อย – วัดพระสิงห์ฯ)
– ขบวนแห่ไม้ค้ำสะหลีและขนทรายเข้าวัด (วันที่ 14 เมษายน 2566 ณ วัดบนถนนท่าแพ)
– ขบวนแห่สระเกล้าดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (วันที่ 16 เมษายน 2566 ณ สี่แยกกลางเวียง ถึงจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่)

4. กิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน และชุมชนได้มีส่วนร่วมในกรสีบสานประเพณีและวัฒนธรรม
– ข่วงวัฒนธรรม สล่าศิลปินล้านนา (วันที่ 13-15 เมษายน 2566 ณ ข่วงประตูท่าแพ)
– การประกวดเครื่องสักการะล้านนา (วันที่ 13 เมษายน 2566 ณ ช่วงประตูท่าแพ)
– การประกวดเจดีย์ทราย (วันที่ 12 เมษายน 2566 ณ ข่วงประตูท่าแพ)
– การประกวดประดิษฐ์ตุงล้านนา (วันที่ 12 เมษายน 2566 ณ ข่วงประตูท่าแฟ)
– การประกวดตีกลองปู่จา (วันที่ 15 เมษายน 2566 ณ ข่วงประตูท่าแพ)
– การประกวดแม่ญิงขี่รถถีบกางจ้อง (วันที่ 13 เมษายน 2566 ณ ข่วงประตูท่าแพ)
– การประกวดเทพี – เทพบุตรสงกรานต์เชียงใหม่ (วันที่ 13-14 เมษายน 2566 ณ ช่วงประตู ท่าแพ)
– การประกวดหนูน้อยสงกรานต์เชียงใหม่ (วันที่ 15 เมษายน 2566 ณ ข่วงประตูท่าแพ)

5. กิจกรรมพิธีวันสถาปนาเมืองเชียงใหม่ครบรอบ 727 ปี
– พิธียอสวยไหว้สา พระญามังราย (วันที่ 12 เมษายน 2566 ณ ลานราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์)
– ข่วงวัฒนธรรม 727 ปี เมืองเชียงใหม่ (วันที่ 9-11 เมษายน 2566 ณ ลานราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์)

6. กิจกรรมย้อนวันวานสงกรานต์ปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนสืบสานอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม
– ถนนคนเดินย้อนวันวาน (วันที่ 13-15 เมษายน 2566 ณ ถนนข้างคลาน)
– เวทีรำวงย้อนยุค (วันที่ 13-15 เมษายน 2566 ณ ช่วงประตูท่าแพ)
– การแข่งขันลาบพื้นเมือง (วันที่ 15 เมษายน 2566 ณ ข่วงประตูท่าแพ)
– การแข่งขันทำอาหารพื้นเมืองรูปแบบขันโตกล้านนา

7. กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรม 727 ปี สะหลีปี๋ใหม่เมือง (วันที่ 13-15 เมษายน 2566 ณ ลานราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์)
– การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น และร่วมสมัย
– การแสดงคีตดนตรี Lanna Music Orchestra

8. กิจกรรมสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญของเมืองเชียงใหม่ 11 วัดมงคลในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่

9. กิจกรรมการแสดง แสง สี เสียง และสื่อผสม สืบสานป๋าเวณีใหม่เมืองเจียงใหม่ เชื่อมโยงถึงงานประเพณีสำคัญทางวัฒนธรรมของนครเชียงใหม่ (วันที่ 13-15 เมษายน 2566 ณ ลานชานุสาวรีย์สามกษัตริย์)

10. กิจกรรมอุโมงค์น้ำ และถนนสายน้ำ สืบสานมหาสงกรานต์เชียงใหม่ “จุ้มก๋ายเย็นใจ ปี๋ใหม่เมือง” สร้างสีสันความสนุกสนาน และรอยยิ้มให้กับนักท่องเที่ยว (วันที่ 13-15 เมษายน 2566 ณ บนถนนท่าแพ)

11. กิจกรรมการประดับตกแต่งตุงล้านนาสืบสานป๋าเวณีปีใหม่เมือง และกิจกรรม เตียว ตวย ตุง ร่วมกับชุมชนสร้างสรรรค์ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่

12. กิจกรรมพิธีอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 2 วัด อาทิเช่น วัดบุบพราม วัดดับภัย เป็นต้น

ประมวลภาพ :

blankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblankblank

blankblankblank