29 พ.ค. 66 – ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ผ่าน เฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” ให้ความรู้ประเด็นเกี่ยวกับสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในเครื่องดื่มระบุว่า
สารหวานในเครื่องดื่ม ไร้น้ำตาล เสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์
นับเป็น 10 ปีมาแล้วที่มีการใช้สารน้ำตาลเทียมเพิ่มหรือแทนความหวานที่ได้จากน้ำตาล ทั้งนี้เพื่อตอบสนองกับคนที่มีโรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่เรียกว่า เมตาบอลิก ซินโดรม (Metabolic syndrome) ที่เป็นกลุ่มอาการที่จะต่อติดต่อเนื่อง ตามกันมา
จากอ้วน ดื้ออินซูลิน เบาหวาน ไขมันสูง มีภาวะเส้นเลือดผิดปกติและนำไปสู่โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ จนกระทั่งถึงมะเร็ง ด้วยการที่มีสารอักเสบก่อตัวในร่างกาย ทุกระบบและในสมอง จนเร่งสมองเสื่อมให้เกิดขึ้นเร็วและรุนแรง และพิสูจน์แล้วว่าเร่งความแก่ชราให้มากขึ้น และสารทดแทนเหล่านี้ ได้มีการรับรองความปลอดภัยจากองค์กรกลางต่างๆที่ทำการประเมินและมีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก
แต่กระนั้น การติดตามภาวะสุขภาพในคนที่ได้รับสารหวานเทียมเหล่านี้ เริ่มมีรายงานออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ในปี 2000 เป็นต้นมา ถึงผลที่อาจไม่พึงประสงค์ รวมทั้งแทนที่จะเกิดประโยชน์ กลับมีโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่สามารถอธิบายได้ โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดตีบ แต่เนื่องจากเป็นการศึกษาที่ไม่ทอดระยะเวลานานนัก และไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์หรือการเป็นสาเหตุได้ชัดเจน เนื่องจากมีตัวแปรและปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้ข้อมูลยังมีความคลุมเครืออยู่
รายงานในวารสาร เนเจอร์ 27 กุมภาพันธ์ 2023 เป็นงานต่อเนื่องตั้งแต่การค้นพบความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้ กับการอักเสบ และเส้นเลือดตันที่รายงานในวารสารนิวอิงแลนด์และเนเจอร์ในปี 2013 ที่ตอกย้ำพิสูจน์ว่าการกินเนื้อแดง และไข่แดงจะเชื่อมโยงกับจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียไม่ดีในลำไส้ ที่สกัดและผลิตสารอักเสบออกมาชื่อ TMA และ TMAO ทั้งนี้ การลดการกินเนื้อและไข่แดง โดยที่หนักผัก ผลไม้ กากใย ถั่ว จะระงับการอักเสบดังกล่าว และเริ่มพบว่าสาร polyols ก็มีความสัมพันธ์ร่วม
งานในปี 2023 นี้พบว่าสาร erythritol ซึ่งอยู่ในกลุ่ม polyol ทำให้เกล็ดเลือดไวขึ้น จนเพิ่มความเสี่ยงของเส้นเลือดตัน
การศึกษาเริ่มจากเป็น un targeted metabolomics ในคน 1,157 รายที่มาประเมินความเสี่ยงของเส้นเลือดหัวใจ (discovery cohort) โดยได้ทำการสวนเส้นเลือดหัวใจ จนพบว่าระดับของสาร polyol โดยเฉพาะ erythritol สัมพันธ์กับโรคหัวใจและอัมพฤกษ์มากขึ้นหลังจากติดตามสามปี จากการตรวจด้วย GC-MS แต่ทั้งนี้ บอกได้คร่าวๆ และยังไม่สามารถเชื่อมโยงกับระดับปริมาณที่ชัดเจนได้
การศึกษาต่อมาเฉพาะเจาะจง targeted metabolomics คนอเมริกัน 2,149 ราย และคนในยุโรป 833 ราย (validation cohort) ที่มาตรวจประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจ โดยมีข้อมูลความรุนแรงและการติดตามก่อนหน้านั้นหลายปี โดยใช้ตัวอย่างเลือดในคนอเมริกันจากรายงานของปี 2013 และควบรวมกับคนในยุโรป พบความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างระดับของ erythritol กับความเสี่ยงที่สูงขึ้น จากการตรวจด้วย LC-MS (fourth versus first quartile adjusted hazard ratio (95% confidence interval), 1.80 (1.18-2.77) and 2.21 (1.20-4.07), respecti vely) และการทดสอบการทำงานของเกล็ดเลือดพบว่ามีการกระตุ้นเพิ่มขึ้น ทั้งในหลอดทดลองและเพิ่มการเกิดเส้นเลือดตันในหนูทดลอง
การศึกษาต่อมา (interven tion study) เฉพาะเจาะจงโดยที่มีอาสาสมัคร 8 ราย กิน erythritol 30 กรัม ที่เป็นขนาดปกติในเครื่องดื่มหรือในไอศกรีมคีโต พบระดับในเลือดสูง ลอยมากอยู่จนถึงสองวันถัดมา
ทั้งนี้ ในผลิตภัณฑ์อาหารที่พบอยู่ได้ทั่วไปนั้น จะมีปริมาณของสาร erythritol ในขนาดสูงมากกว่า 30 กรัมด้วยซ้ำ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความหวานให้มากขึ้น โดยที่อาจไม่ได้มีการระบุปริมาณที่ชัดเจนเนื่องจากถือว่าเป็นสารปลอดภัย
ผลที่ได้จาก รายงานนี้ อาจต้องมีการหาความ สัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลเพิ่มขึ้น แม้ว่าการทดลองในราย งานนี้จะมีผลการศึกษาในหนูทดลองรวมกระทั่งถึงในอาสาสมัคร แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยเพียง 8 ราย แต่การทดสอบของเกล็ดเลือดนั้นแสดงถึงปฏิกิริยาที่สูงขึ้นในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเส้นเลือดได้
คณะผู้วิจัยได้จุดประเด็นที่ควรต้องทำต่อจากนี้ ก็คือการที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆนั้นควรที่จะแสดงปริมาณของสาร erythritol ทั้งนี้อาจจะเป็นสารเดี่ยวที่ใส่เข้าไปหรือใส่เข้าไปร่วมกับสารที่เสมือนมาจากธรรมชาติ เช่น จาก Monk fruit หล่อฮั่งก้วยและ Strevia หญ้าหวาน ที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 ถึง 400 เท่า และในผลิตภัณฑ์ต่างๆนั้นอาจเพิ่มเติม erythritol เพื่อให้สะดวกแก่การผลิตในรูปของการบริโภคสำเร็จ
แต่จะรอให้มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงในอนาคตจากข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 นี้ ซึ่งไม่ทราบว่าจะต้องรอเวลาไปอีกกี่เดือนหรือกี่ปี
ควรหรือไม่ ที่ผู้บริโภคอาจจะต้องเตรียม ตัวเอง ในการเลือกผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น ทั้งนี้ความหวานที่ได้จากผักผลไม้ ที่ต้องกินโดยที่เป็นในรูปของกากใยด้วย เป็นชิ้นเป็นผลเป็นเนื้อ โดยไม่ใช่คั้นเอาแต่น้ำและทิ้งกากใย ออกไป ในรูปลักษณะนี้ ความหวานที่ได้จะปลอดภัย และแม้ว่า erythri tol จะมีการสังเคราะห์ ขึ้นเองในร่างกายตามธรรมชาติ (endogenous) แต่ปริมาณที่เกิดขึ้นจะน้อยกว่าหรือต่ำกว่า ปริมาณที่มีผลกระตุ้นและทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นเลือดมาก
ความจำเป็นที่ต้องเข้าใกล้ธรรมชาติ เข้าใกล้มังสวิรัติ ลดแป้ง เนื้อสัตว์ แทนด้วยปลา และหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนด้วยสารเคมีและสารทดแทนเป็น เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและไม่เป็นภาระต่อตนเองครอบครัว สังคม และประเทศ
ขอบคุณที่มาข้อมูล : เฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha”