เปิดเบื้องลึกเบื้องหลัง องค์กรฯศรีลังกาที่ขับเคลื่อนจนนำ “พลายศักดิ์สุรินทร์” กลับไทยได้ แต่ตัวองค์กรต้องถูกชาวศรีลังกา กล่าวหาว่าขายชาติ

4194

เปิดเบื้องลึกเบื้องหลัง องค์กรฯศรีลังกาที่ขับเคลื่อนจนนำ “พลายศักดิ์สุรินทร์” กลับไทยได้ แต่ตัวองค์กรต้องถูกชาวศรีลังกา กล่าวหาว่าขายชาติ

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เฟซบุ๊ก “Bhanuwat Jittivuthikarn” โพสต์ถึงกรณีการนำช้างพลายศักดิ์สุรินทร์กลับไทย ระบุว่า ผมอยากเขียนขอบคุณ องค์กร NGO องค์กรหนึ่งของลังกา ชื่อว่า Rally for Animal Rights and Environment, หรือ RARE ที่ได้ต่อสู้ เพื่อช้างไทยตัวนี้ มาถึงสามปี โดยทีมงาน RARE พยายามทำทุกอย่าง ตลอดสามปีที่ผ่านมา เพื่อ นำพลายศักดิ์สุรินทร์ ออกจากวัด Kande Viharaya Temple มารักษา เคยมีการส่งเรื่องให้ กรมอนุรักษ์คุ้มครองสัตว์ของลังกา ตั้งแต่ปี 2020 ว่า พลายศักดิ์สุรินทร์โดนทรมาน แต่ไม่ได้รับการสนใจ จนต้องมาที่ทางเลือกสุดท้าย คือติดต่อรัฐบาลไทย จนประสบความสำเร็จ พาพ่อพลายกลับไทยได้ในวันนี้

MYFleV.jpeg
ภาพขณะเตรียมพร้อมที่ศรีลังกาก่อนกลับไทย
ทีมงานของ RARE โดนพวกรักชาติ ของลังกา ด่าท่อและประนาม ว่าเป็นพวกขายชาติ เป็นพวกขี้ฟ้องเอาหน้า คนลังกาส่วนใหญ่ ยังเชื่อว่า พลายศักดิ์สุรินทร์ เป็น สมบัติของรัฐบาลลังกา และ RARE คือตัวร้าย ที่เอาพลากเอาสมบัติและสัตว์มงคลของชาวลังกาไปจากพวกเขา
เมื่อวานนี้ มีการประท้วง ที่ หน้าสถานทูตไทย ให้รัฐบาลลังกาห้ามส่ง พลายศักดิ์สุรินทร์ คืนไทย ผมเคยเดินทางไปลังกาถึง 20 ครั้ง มีความรู้และเข้าใจสภาพสังคม พุทธชาตินิยมของศรีลังกามากพอควร แม้ตอนแรกผมจะเข้าใจผิดว่า พลายศักดิ์สุรินทร์ เป็นช้างประจำวัดพระเขี้ยวแก้วแห่งเมืองแคนดี้ หนึ่งในวัดที่ทรงอำนาจที่สุดในลังกา แต่พอตรวจสอบข้อมูลแล้ว พลายศักดิ์สุรินทร์ ช่วงมีปัญหาอยู่ที่วัด Kande Viharaya Temple เป็นวัดทางใต้ของกรุงโคลัมโบ เข้าไปดูรูปวัดก็เห็น วัตถุในวัดมากมาย เป็นวัดแนวให้คนมาเที่ยวและทำบุญ เงินที่วัดได้จากคนทำบุญผมมั่นใจว่า มีไม่น้อย แต่เป็นเงินที่ได้มาจากควาททุกข์ทรมานของ พลายศักดิ์สุรินทร์
MYFAbS.jpeg
ภาพในงานที่ศรีลังกา
ส่วนงาน แห่พระเขี้ยวแก้ว มีจัดตลอด 10วันในปลาย สิงหาของทุกปี จริงๆ แค่เงินจากงานนี้งานเดียวน่าจะพอดูแลพลายศักดิ์สุรินทร์ ได้ตบอดปี แต่ พลายศักดิ์สุรินทร์ ยังต้องไปรับงานเดินแห่ตามบ้าน เหมือน ช้างขอทานอีก หากดูชุดที่ใส่ ก็แบบ น่าจะหนักและอิดอัดพอควร
ผมอยากขอขอบคุณ ทีมงาน RARE ที่ต่อสู้เพื่อช้างไทยจนได้กลับบ้าน อยากให้เพื่อนๆคนไทยใครพอมีเวลา แวะไปขอบคุณให้กำลังใจอีกหนึ่ว ฮีโร่ ผู้อยู่เบื้องหลังการพา พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับบ้าน ขอขอบคุณพวกคุณจากใจคนไทยคนหนึ่ง
ทั้งนี้เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 2 ก.ค. 66 เครื่องบินแบบ Ilyushin IL-76 เที่ยวบินที่ AZS5701 ซึ่งนำช้างไทย “พลายศักดิ์สุรินทร์” ออกเดินทางจากสนามบิน “บันดารานายาเก” กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ โดยสวัสดิภาพ การเดินทางในครั้งนี้ เครื่องบินขนส่งใช้เวลาทำการบินประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งต้องใช้เพดานบินและความเร็วต่ำ โดยพลายศักดิ์สุรินทร์จะอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของนายทรชัยสิทธิ์ ศิริ , นายศุภชัย บุญเกิด และ นายไกรสร เครือจันทร์ เจ้าหน้าที่จากสถาบันคชบาลแห่งชาติ รวมจำนวน 3 คน และ Mr. Don Upul Jayarathna Denelpitiyage หัวหน้าชุดควาญศรีลังกา จากสวนสัตว์ Dehiwala จำนวน 1 คน ที่ช่วยปฏิบัติหน้าที่ในการร่วมเดินทางดูแลช้างบนเครื่องบินขนส่ง
เมื่อมาถึงทีมเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ก่อนจะเคลื่อนย้ายคอกกักซึ่งเป็นตู่คอนเทนเนอร์ออกจากเครื่องบิน นำขึ้นรถบรรทุกพ่วงขนาดใหญ่ จากนั้นได้เปิดคอกฉีดพ่นน้ำเพื่อคลายความร้อนและลดอาการเครียดจากการเดินทางเป็นระยะเวลานาน โดยพบว่าพลาสยศักดิ์สุรินทร์มีอาการหิวน้ำและกินน้ำเข้าไปมากและมีท่าทางผ่อนคลายเมื่อได้สัมผัสกับความเย็นจากน้ำ จากนั้นรถบรรทุกคอกกักจึงออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ไปยังสถาบันคชบาลแห่งชาติที่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เมื่อถึง จ.ลำปาง พลายศักดิ์สุรินทร์ไม่ตื่นตกใจ และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี หลังจากนี้เข้าสู่ขั้นตอนการกักโรคเป็นระยะเวลา 30 วัน

ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์  หรือ “มธุราชา” (Muthu Raja) เป็นหนึ่งในช้าง 3 เชือกที่รัฐบาลไทยมอบให้รัฐบาลศรีลังกา ตั้งแต่ปี  2544 โดยรัฐบาลศรีลังกาได้มอบพลายศักดิ์สุรินทร์ให้แก่วัด Kande Vihara เป็นผู้ดูแล เพื่อเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในงานแห่พระธาตุประจำปีของศรีลังกา (พระธาตุเขี้ยวแก้ว) ซึ่งจัดมานานนับ 270 ปี

MYFD3Q.jpeg
ภาพล่าสุดที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย 3 ก.ค. 66

ทั้งนี้พลายศักดิ์สุรินทร์เดินทางจากเมืองไทยไปอยู่ที่ประเทศศรีลังกาตั้งแต่เป็นลูกช้างอายุไม่ถึง 10 ปี จนวันนี้มีอายุราว 30 ปี ถือเป็นช้างที่มีงาสวยงามมีคชลักษณ์โดดเด่นตรงตามความต้องการของศรีลังกา โดยตอนที่อยู่ประเทศไทยไทย มีนายทองสุก มะลิงาม ควาญช้างไทยเป็นเจ้าของผู้ดูแล

ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า องค์การ Rally for Animal Rights & Environment (RARE) ซึ่งเป็นองค์การด้านการพิทักษ์สิทธิสัตว์ในศรีลังกา ร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้แรงงานพลายศักดิ์สุรินทร์ที่ค่อนข้างหนัก และพลายศักดิ์สุรินทร์ไม่ได้รับการดูแล และควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน

กระทรวงการต่างประเทศหารือเรื่องข้างต้นกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการเร่งด่วน และได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ เข้าตรวจสอบ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565  สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้น พบว่า พลายศักดิ์สุรินทร์มีสุขภาพและสภาพความเป็นอยู่ไม่ดีนัก จึงได้ร่วมกับคณะสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญไทยจากกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เดินทางไปตรวจสุขภาพและความเป็นอยู่ของพลายศักดิ์สุรินทร์อีกครั้ง โดยเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนในวงกว้าง

หลังจากการตรวจสอบคณะสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ควรให้พลายศักดิ์สุรินทร์หยุดการทำงานและส่งตัวกลับมารักษาอาการป่วยที่ประเทศไทย ซึ่งตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 พลายศักดิ์สุรินทร์ถูกนำตัวไปรักษาและฟื้นฟูสุขภาพเบื้องต้นที่สวนสัตว์ Dehiwala โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญไทยและศรีลังกาให้การดูแล จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 รัฐบาลศรีลังกาเห็นชอบ ว่าพลายศักดิ์สุรินทร์ ควรได้รับการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมโดยเร่งด่วน และเห็นชอบให้นำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับมามารักษาอาการป่วยที่ประเทศไทย