22 ส.ค. 66 – ผู้ใช้ Tiktok บัญชี @bb.boss04 ได้โพสต์คลิปเล่าประสบการณ์รีวิวตัวเองในปี 2023 หลังเจ้าตัวตรวจเจอไตวายระยะ (สุดท้าย) ในอายุ 24 ปี ทั้งที่ไม่ดื่ม ไม่เที่ยว ไม่สูบบุหรี่
พร้อมทั้งระบุข้อความเพิ่มเติมอีกว่า “แรกๆตรวจเจอเป็นไตวายเฉียบพลัน แล้วกู้ไม่กลับครับ สุดท้ายเป็นไตวายเรื้อรัง ต้องฟอกอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ตอนนี้ก็ยื่นเรื่องเปลี่ยนไตไว้ครับรักษาตัวรอดีๆ เผื่อได้เปลี่ยนครับ”
นอกจากนี้ยังได้โพสต์คลิปเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สัญญาณก่อนตรวจเจอว่าเป็นไตวายเฉียบพลัน โดยเจ้าตัวบอกว่า มีอาการปวดหัวข้างเดียว ครั่นเนื้อครั่นตัว แขนขาอ่อนแรง กินอะไรก็อาเจียนออกหมด ตัวซีด เป็นตะคริวบ่อยช่วงดึกๆ ความดันขึ้นมา 200
ไปโรงพยาบาลแรกหมอแจ้งว่าความดันสูง ให้ยากลับมากิน แต่อาการไม่ดีขึ้น ไปโรงพยาบาลที่สอง มีสิทธิ์ประกันสังคม หมอแจ้งว่าเป็นไมเกรน ให้ยากลับมากินแต่อาการไม่ดีขึ้น ไปโรงพยาบาลสุดท้าย เจาะเลือดไปตรวจ 1 ชั่วโมงรู้ผลเลย สรุปเจอไตวายเฉียบพลัน
ส่วนตัวมีกรรมพันธุ์คุณพ่อเป็นโรคไตเช่นกัน แต่เสียชีวิตไปหลายปีแล้ว และน่าจะเกี่ยวกับการใช้ชีวิตพักผ่อนน้อยนอนดึก กินอาหารไม่ตรงเวลา กินกาแฟทุกเช้า ไม่ค่อยกินน้ำเปล่าด้วย
หลังจากเรื่องราวดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปก็ได้รับความสนใจ พร้อมกับส่งกำลังใจให้หนุ่มรายนี้จำนวนมาก
“เข้มแข็งนะคะ ดูแลรักษาสุขภาพจิตใจด้วยนะคะ”
“หายไวๆนะคะ”
“แนะนำทุกนะครับ ควรตรวจร่างกายประจำปี ทุกปี มันจะมีตรวจเลือด ตรวจค่าไตคัดกรองมะเร็ง ฯลฯ ขึ้นอยู่กับแผนแต่ละรพ.ว่าต้องจ่ายเพิ่มไหมหรือมีในแผน”
“เป็นกำลังใจให้นะค่ะ ขอให้หายไวๆกลับมาทำตามฝันตัวเองนะคะ”
@bb.boss04 แรกๆตรวจเจอเป็นไตวายเฉียบพลัน แล้วกู้ไม่กลับครับ สุดท้ายเป็นไตวายเรื้อรัง ต้องฟอกอาทิตย์ละ 2 ครั้ง **ตอนนี้ก็ยื่นเรื่องเปลี่ยนไตไว้ครับรักษาตัวรอดีๆเผื่อได้เปลี่ยนครับ** 🙏🏻 #โรคไตเสื่อม #bbossth ♬ เสียงต้นฉบับ – 𝑺𝑻𝑶𝑹𝒀𝑴𝑼𝑺𝑰𝑪.
@bb.boss04 ตอบกลับ @ลานAYL #โรคไตเสื่อม #bbossth ♬ เสียงต้นฉบับ – 🤏🏻 – 🫵🏻
@bb.boss04 ตอบกลับ @bumtao ทุกอย่างดูกะทันหันไปหมด ต้องทำเรื่องฟอกภายในวันนั้นเลยครับ และทำเรื่องย้ายไปที่ รพ.ที่มีประกันสังคมครับ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะครับ🙏🏻 #โรคไตเสื่อม #bbossth ♬ เสียงต้นฉบับ – 🤏🏻 – 🫵🏻
@bb.boss04 ตอบกลับ @wish me only good luck🌈 ไม่ได้จะพาดพิงอาหารนะครับ แค่แชร์ลักษณะการทานของตัวเองที่ทานบ่อยครับ🙏🏻 #โรคไตเสื่อม #โรคไต #bbossth ♬ เสียงต้นฉบับ – Ⓦ︎Ⓘ︎Ⓛ︎Ⓛ︎Ⓐ︎Ⓘ︎Ⓡ︎Ⓐ︎Ⓜ︎Ⓟ︎Ⓐ︎ – 爪丫 刀卂爪乇 工丂 丫ㄩ尺工( ˘ ³˘)♥︎
ทั้งนี้จากข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า สาเหตุของการเป็นโรคไตไม่ใช่แค่กินเค็มเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ร่างกายคนเรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคไต ได้เหมือนกัน โดยปัจจัยที่พบบ่อยได้แก่
– การมีโรคที่มีผลกระทบกับไต เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกิน โรคเก๊าท์หรือระดับกรดยูริกในเลือดสูง โรคแพ้ภูมิตนเอง – การสูบบุหรี่เรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมลง ส่งผลให้การทำงานของไตเสื่อมลง
– การมีภาวะไตผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ตั้งแต่กำเนิด เช่น ไตฝ่อ มีมวลเนื้อไตลดลง หรือมีไตข้างเดียว เป็นต้น
– การมีภาวะหลอดเลือดฝอยในไตอักเสบ
– การเป็นโรคติดเชื้อทางเดินระบบปัสสาวะส่วนบนช้ำหลายครั้ง
– การตรวจพบนิ่วในไตหรือระบบทางเดินปัสสาวะ หรือตรวจพบถุงน้ำในไตมากกว่า 3 ตำแหน่งขึ้นไป
– การมีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือ มีประวัติการเป็นโรคไตอักเสบ หรือถุงน้ำในไต
– การได้รับยาในกลุ่มยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือสารพิษที่ทำลายไต (Nephrotoxic agents)
– ดื่มน้ำน้อยเกินไป เกิดภาวะขาดน้ำของไตจนทำงานบกพร่อง หรือเกิดการสะสมของสารเคมีในทางเดินปัสสาวะ จนตกตะกอนกลายเป็นโรคนิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะ
– รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงแต่ไม่เค็ม อาทิ ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มสุกี้ อาหารแปรรูปยอดนิยม เช่น แฮม เบคอน ขนมกรุบกรอบ ผลไม้กระป๋อง รวมถึงอาหารหมักดอง เช่น ผักกาดดอง หรือไข่เค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงฟู สารกันบูด หรือสารกันเชื้อราในขนมปัง เป็นต้น
ขอบคุณเรื่องราว/คลิป : Tiktok bb.boss04, nakornthon