เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 67 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้เปิดเผยถึงสถานะการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันว่า แม้เศรษฐกิจในภาพรวมจะฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังเป็นการฟื้นตัวแบบไม่เท่าเทียม และมีประชาชนกลุ่มที่เดือดร้อนจากรายได้ที่ฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยเฉพาะแรงงานในภาคการผลิต (เช่น กลุ่มที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง อย่าง Hard Disk Drive สิ่งทอ ปิโตรเคมี และเหล็ก) และภาคท่องเที่ยว ขณะที่แม้เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ค่าครองชีพยังสูง สะท้อนจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นยังปรับสูงขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 3% เทียบกับช่วง 10 ปีก่อนโควิดที่ 3-3.5% เป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้างเป็นหลัก การยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจควรให้ความสำคัญกับการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง การยกระดับคุณภาพแรงงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผ่านการลงทุนเทคโนโลยีและ R&D มากขึ้น
ซึ่งนอกจากนี้ ธปท. ยังได้รวบรวมข้อมูลราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น แม้เงินเฟ้อจะลดลง ตัวอย่างรายการราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นประจำ เปรียบเทียบกับ 5 ปีก่อน ราคาเฉลี่ยปี 2562 กับปัจจุบัน ณ เดือน พ.ค. 67 ดังนี้
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย