โพลชี้ มาตรการ “ชิม ช้อบ ใช้” ได้ผลในแง่แย่งชิงมวลชนการเมือง แต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์ยังได้ผลน้อย

507

ซุเปอร์โพล ชี้ มาตรการ “ชิม ช้อบ ใช้” ได้ผลในแง่แย่งชิงมวลชนการเมือง แต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์ยังได้ผลน้อย

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อํานวยการสํานักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นําเสนอผลสํารวจภาคสนาม เรื่อง ชิมช้อปใช้ ใครว่าได้ประโยชน์ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่ว ประเทศ โดยดําเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) จํานวน 1,179 ตัวอย่าง และ “เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” (Traditional Voice) จํานวน 1,080 ตัวอย่าง ดําเนินโครงการระหว่าง 1 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา พบว่า

      เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิมส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.4 ได้เข้าใช้ประโยชน์จากมาตรการ ชิมช้อป ใช้ ของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 39.6 ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ และเมื่อแบ่งแยกวิเคราะห์กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาล กลุ่มพลังเงียบและกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล พบว่า กลุ่มคนทั้งสามกลุ่มใช้ประโยชน์จากมาตรการ ชิมช้อปใช้ เป็นส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 69.6 ของคนสนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 62.7 ของพลังเงียบ และร้อยละ 52.0 ของคน ไม่สนับสนุนรัฐบาล ได้ใช้ประโยชน์จากมาตรการชิมช้อปใช้ อย่างไรก็ตามคนที่ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์เพราะ เข้าไม่ถึงมาตรการชิมช้อปใช้เป็นกลุ่มคนมีรายได้น้อย ไม่มีช่องทางเข้าถึง ขั้นตอนยุ่งยาก ไม่ทราบ ไม่รู้เรื่อง นี้และอยู่ห่างไกล

      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าสนใจคือ เมื่อวิเคราะห์เสียงของประชาชนในโลกโซ เชียล (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll ด้วยการประมาณการจํานวนเข้าถึงเรื่อง ชิมช้อปใช้ พบว่ามีจํานวนทั้งสิ้น 21,898,746 คน หรือประมาณยี่สิบกว่าล้านคนเศษ เป็นเสียงตอบรับในทางบวก ร้อยละ 67.8 และเสียงตอบรับในทางลบร้อยละ 32.2 อย่างไรก็ตาม เสียงตอบรับในทางลบจะเป็นไปในเชิง วิพากวิจารณ์มาตรการและมีการเผยแพร่กว้างขวางด้วยคําว่า “ล้มเหลว” เป็นคําที่ทรงอิทธิพลในโลกโซเชียล ในขณะที่คําต่าง ๆ ที่เสียงตอบรับในทางบวกคือคําว่า “ท่องเที่ยว” เป็นคําที่ทรงอิทธิพลเช่นกันแต่ถูกกระจาย ไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ โดยล่าสุดจํานวนคนที่กําลังพูดถึงเรื่องนี้ในโลกโซเชียลตรวจวัดได้ช่วง เช้าที่ผ่านมามีจํานวนทั้งสิ้น 76,695 คนและกําลังพูดถึงเรื่องวิธีการลงทะเบียนมากกว่าเบียดแซงข้อความ เชิงลบเรื่องความล้มเหลวของมาตรการชิมช้อปใช้ที่ถูกผลิตออกมาจากฝ่ายตรงข้ามแล้ว

      “จากผลโพลนี้อาจฟันธงได้ว่า มาตรการชิมช้อปใช้ ได้ผลในแง่แย่งชิงมวลชนได้สําเร็จในเชิงการเมือง แต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์ต้องวิเคราะห์อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะเสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิมและเสียงประชาชนในโลกโซเชียลเป็นไปในทิศทางบวก จนทําให้ฝ่ายตรงข้ามออกมาเคลื่อนไหวหนักใช้การสื่อสารเชิงลบเข้าทําลายด้วยเล็งเห็นจุดอ่อนของคนทั่วไปในสังคมที่ขับเคลื่อนข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี ทางออกคือ กระทรวงต่างๆ ต้องทํางานเป็นหนึ่งเดียวกันเพราะคําว่า “ท่องเที่ยว” ถูกใช้มากแต่กระจายตัวสูงต้องสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงมากขึ้นและทําให้คําว่า “ท่องเที่ยว” รวมพลังกับคําว่า “ชิมช้อปใช้” และจะสามารถ ทําลายพลังคําว่า “ล้มเหลว” ในเสียงของประชาชนได้สําเร็จ ให้ถือหลัก น้ําหยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน จะทําให้ฝ่ายตรงข้ามมาเป็นฝ่ายสนับสนุนท่องเที่ยว ชิมช้อปใช้ น้ำหยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

g2jNFg.jpg
g2j42n.jpg