สภาเศรษฐกิจโลกเผย 5 ปัจจัยเสี่ยงทำธุรกิจในไทย ระวัง “เศรษฐกิจฟองสบู่-ความล้มเหลวของรัฐบาล”

3478

สภาเศรษฐกิจโลกเผย 5 ปัจจัยเสี่ยงทำธุรกิจในไทย ระวัง “เศรษฐกิจฟองสบู่-ความล้มเหลวของรัฐบาล”

     “พาณิชย์”เผยสภาเศรษฐกิจโลก ชี้ความเสี่ยงการทำธุรกิจในไทย 5 อันดับ “เศรษฐกิจฟองสบู่-ความล้มเหลวรัฐบาล-การโจมตีทางไซเบอร์-ภัยพิบัติทางธรรมชาติและโดยมนุษย์-ความไม่มั่นคงทางสังคม” แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น และหามาตรการรับมือกับความเสี่ยงที่มีอยู่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

     น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ได้จัดอันดับความเสี่ยงในการทำธุรกิจของภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยพบว่าเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 7 อันดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและอินเดีย ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตรวมคิดเป็น 60% ของการผลิตโลก มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงเมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 รวมทั้งหนี้สาธารณะโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดที่ 225% ของ GDP ทำให้สะท้อนถึงความอ่อนแอของภาคการเงินสาธารณะในทุกภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลเกี่ยวเนื่องต่อ ความเสี่ยงในด้านอื่นตามมา เช่น การจ้างงาน การจัดสวัสดิการของภาครัฐแก่ประชาชน และราคาพลังงาน เป็นต้น

ทั้งนี้ สภาเศรษฐกิจโลกยังได้จัดอันดับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจทั่วโลก พบว่า 10 อันดับแรก ได้แก่

1.วิกฤติทางการเงิน
2.การโจมตีทางไซเบอร์
3.ภาวะการว่างงาน
4.วิกฤติราคาพลังงาน
5.ความล้มเหลวของรัฐบาล
6.ความวุ่นวายทางสังคม
7.การโจรกรรมข้อมูล
8.ความขัดแย้งระหว่างรัฐ
9.การขาดโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ
10.เศรษฐกิจฟองสบู่

ส่วน 10 อันดับความเสี่ยงในการทำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ได้แก่
1.ภัยธรรมชาติ
2.การโจมตีทางไซเบอร์
3.ความขัดแย้งระหว่างรัฐ
4.วิกฤตการณ์ทางการเงิน
5.เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่รุนแรง
6.เศรษฐกิจฟองสบู่
7.การโจรกรรมข้อมูล
8.วิกฤติราคาพลังงาน
9.ภาวการณ์ว่างงาน
10.ความล้มเหลวของรัฐบาล

ขณะที่ ความเสี่ยงในการทำธุรกิจในไทย 5 อันดับแรก ได้แก่
1.เศรษฐกิจฟองสบู่
2.ความล้มเหลวของรัฐบาล
3.การโจมตีทางไซเบอร์
4.ภัยพิบัติทางธรรมชาติและโดยมนุษย์
5.ความไม่มั่นคงทางสังคม

ที่มา : CNA 


ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของอาเซียน

ตามรายงาน “ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ประจำปี 2019” ซึ่งเผยแพร่โดย World Economic Forum ระบุว่า ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มในการโตที่ค่อนข้างน้อยมากกว่าทุกช่วงที่ผ่านมา และมีการเติบโตช้าลงอย่างมีนัยยะสำคัญมาตั้งช่วงเกิดวิฤติการณ์เศรษฐกิจช่วงปี 2009 และมีแนวโน้มลดลงอย่างรุนแรงในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสภาวะการเติบโตแบบถดถอยแบบนี้นั้นเกิดขึ้นทั่วโลก และเมื่อพิจารณาประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกจำนวน 7 ประเทศ ได้แก่
1. สหรัฐอเมริกา
2. จีน
3. ญี่ปุ่น
4. เยอรมันนี
5. สหราชอาณาจักร
6. ฝรั่งเศส
7. อินเดีย
ก็พบว่าประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจเหล่านี้มีอัตราการเตริญเติบโตลดลงอย่างมาก และในขณะเดียวทั้ง 7 ประเทศนี้ก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะมากขึ้นถึง 225% เมื่อเทียบกับ GDP ของโลก

ซึ่งรายงานฉบับนี้ของ World Economic Forum นั้นยังได้ลงข้อมูลถึงความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจในประเทศต่างๆไว้ด้วย โดยทาง Thailand Development Report จะขอโฟกัสไปที่ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย

และได้สรุปความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนออกมาดังนี้
?? ไทย : ภาวะฟองสบู่
?? มาเลเซีย : การจารกรรมข้อมูล
?? อินโดนีเซีย : การจารกรรมข้อมูล
?? สิงคโปร์ : การโจมตีทางไซเบอร์
?? ฟิลิปปินส์ : ความล้มเหลวในการกำกับดูของภาครัฐ
?? บรูไน : การว่างและการทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
?? เมียนมาร์ : **ไม่มีข้อมูล**
?? กัมพูชา : ภาวะฟองสบู่
?? ลาว : ภาวะเงินฝืด
?? เวียดนาม : ภาวะฟองสบู่และความล้มเหลวของการวางระบบผังเมือง

#สรุป
ทุกประเทศในอาเซียน และทั่วโลกล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในครั้ง เป็นความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งยังไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าสภาพสถานการณ์ในประเทศนั้นๆ เป็นอย่างในความเสี่ยงจริง

และประเด็นสำคัญ สำหรับประเทศไทยที่มีการออกข่าวกันว่ามีโอกาสฟองสบู่แตกนั้น คงไม่จริง เนื่องจากหากบอกว่ามีความเสี่ยงแล้วจะเกิด ในประเทศอาเซียนก็ยังมีอีก 4 ประเทศที่มีความเสี่ยงภาวะฟองสบู่คือ
1. สิงคโปร์
2. มาเลเซีย
3. เวียดนาม
4. กัมพูชา

ดังนั้น ยังไม่ต้องกังวลกันเกินไปจนทำให้ไม่เป็นอันทำอะไรกัน ขอให้ตั้งสติ และติดตามข้อมูลให้รอบด้าน กันต่อไป
#แอดป๋อม

Thailand Development Report