วิธีเล่นกับจิตใจเหยื่อ ของแก๊งแขกหลอกดูดวง ที่กำลังระบาดในเชียงใหม่

6532

วิธีเล่นกับจิตใจเหยื่อ ของแก๊งแขกหลอกดูดวง ที่กำลังระบาดในเชียงใหม่

จากกรณีที่มีแก๊งแขกโพกหัวหลอกดูดวง รีดไถค่าทำบุญ อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ขณะ มีผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่ง ได้แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับวิธีการของแก๊งเหล่านี้ โดยระบุว่า

     หมอดูที่ไม่ใช่คนไทย ที่ระบาดในเชียงใหม่ มันเล่นกับจุดอ่อนใดในจิตใจของเราเพื่อเอาเงิน?

พวกนี้มันเคยระบาดมาพักนึงเมื่อสองสามปีก่อนแล้วก็หายไป หนึ่งเคสจะได้หลักร้อยถึงหลักหมื่นแล้วแต่จิตใจที่อ่อนไหวของเหยื่อ ซึ่งจบป.ตรี ป.โทก็เสร็จมันได้หมด เคสที่เคยได้ยินคือเจ้าหน้าที่การเงินบริษัทนึงโดนไป 7,000 คาห้าง แบบนี้ชาวบ้านตาดำๆก็ไม่เหลือ

แล้วมันได้เงินอย่างไร จากช่องทางไหน?

     ขออธิบายด้วยทฤษฎีตามจิตวิทยาเบื้องต้น ช่วงแรกมันจะใช้สิ่งที่เรียกว่า Forer Effect* นั่นคือพูดอะไรลอยๆที่เกิดขึ้นกับทุกคน และคนฟังจะเหมารวมว่าเฮ้ยนี่มันชีวิตฉันเลย เช่น “คุณเป็นคนฝ่าฟันชีวิตมา” “คุณเป็นคนที่เคยล้มเหลวในความรัก” “ คุณเคยเจอประสบการณ์ร้าย ๆ ในชีวิตมาก่อน”

     และประโยคอื่นๆที่มันจะสร้างขึ้นมาจากการมองรูปลักษณ์ของเหยื่อ จากการแต่งกาย นาฬิกาที่ใส่ มือถือที่ใช้ ซึ่งคน 99.9% ก็จะเป็นแบบนี้ ซึ่งประโยคเหล่านี้เป็นประโยคกว้าง ๆ หลวม ๆ รวมไปถึงหลอกถามความถี่ของการที่เหยื่อไปสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ เพื่อเช็คความเชื่อทางไสยศาสตร์ของเหยื่อว่ามาก น้อย เพียงใด

     จากนั้นมันก็จะเริ่มเห็นและเช็คเรื่อย ๆ ว่าผู้ฟังเป็นพวกเดียวกับมัน เนื่องจากการใกล้ชิดสนิทสนม ทฤษฎีนี้ การขายแบบ direct sale ก็จะใช้อยู่ ถ้าอีกมุกหนึ่งก็คือชวนพูดเรื่องที่ผู้ฟังชอบแล้วมันก็อ้างว่ามันก็ชอบเรื่องนั้นเหมือนกัน เพื่อลดกำแพงสัมพันธภาพที่ผู้ฟังตั้งไว้ลง

     ขั้นตอนถัดไปก็จะเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หลังจากที่มันประเมินว่าเหยื่อนี้ผ่านเกณฑ์แรกเพราะยอมให้มันพูดเป็นเวลาเกิน 10 นาที แสดงว่าเริ่มเปิดใจที่จะฟังประโยคต่อไปของมัน (ปกติถ้าคนไม่เชื่อจะไล่มันไปหรือจะเถียง) มันก็จะกลายเป็นตัวแทนของการที่พูดอะไรแล้วเป็นจริงทุกอย่าง ซึ่งจะถูกวางเงื่อนไขจากสิ่งที่มันพูดหลวม ๆ ในอดีตแล้วมันตรงกับความเป็นจริงของผู้ฟัง ทั้ง ๆ ที่ มันพูดประโยคนี้กับใครคนฟังก็จะบอกว่าจริงอยู่แล้วเพราะมันเป็นเรื่องที่เกิดกับคนส่วนใหญ่

     แล้วจากเรื่องอดีต มันก็จะเปลี่ยนไปเป็นพูดเรื่องอนาคตของผู้ฟังว่าจะดีอย่างโน้นอย่างนี้ ทำให้ผู้ฟังถูกวางเงื่อนไขเป็นสองเท่าว่ามันพูดเรื่องอดีตก็ตรงมันพูดเรื่องจริงก็ตรงเพราะมนุษย์มีอคติ ชอบฟังเรื่องดี ๆ ในอนาคตของตัวเอง

      ทีนี้เมื่อการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกสุกงอมแล้วมันก็จะเริ่มหักมุมไปพูดเรื่องอนาคตของผู้ฟังที่เป็นเรื่องร้าย ๆ ผู้ฟังก็จะเริ่มวิตกกังวล เพราะผู้ฟังถูกมันวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกไว้แล้วในช่วง 15-20 นาทีแรกว่ามันพูดอะไรก็ต้องเป็นจริง ดังนั้นมันพูดเรื่องร้ายก็ต้องเป็นจริงเช่นเดียวกัน สุดท้ายมันก็เปิดการขายด้วยการเสนอให้เสียเงินหลักพันหลักหมื่นเพื่อแก้สิ่งเลวร้ายในอนาคตของเราที่มันพูดต่อไป

แถมเรื่อง Forer Effect ทำไมดูดวงคนเกิดวันนี้จะเป็นคนแบบนี้ มันตรงกับเราจัง?  ทำไมดูดวงราศีนี้ เป็นคนแบบนี้ มันตรงกับเราจัง?

จริง ๆ แล้ว ทางจิตวิทยาสาย Behavioral Sciences มันมี perception bias อันนึง ที่ชื่อ Forer effect อยู่ (ชื่อเดิมคือ Barnum effect) ในปี ค.ศ. 1948 มีนักจิตวิทยา ชื่อ Bertram R. Forer สร้าง personality test หลอกขึ้นมา มีแต่ละข้อจะมีคำถามให้อ่าน เช่น “จริง ๆ แล้วฉันเป็นคนมีความสามารถ แต่รอโอกาสที่จะแสดงออกมา”

แล้วให้คนให้ scale 0-5 ในแต่ละข้อ จากนั้น ก็ทำเป็นมโน มีทำตรวจแบบทดสอบ [0 คือไม่ตรงกับตัวฉัน, 5 คือตรงกับตัวฉันที่สุด]  พอผลออกมา แต่ละคนที่ทำแบบทดสอบ จะได้ผลแปล เกี่ยวกับนิสัยคน ๆ นั้น ซึ่งผลแปลเขียนเหมือนกันทุกแผ่น และส่งให้กับทุกคน ปรากฏว่าทุกคนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันอย่างมีนัยยะสำคัญว่า เฮ้ย ผลมันแม่นว่ะ นี่มันตัวฉันเลยนี่หว่า ทั้ง ๆ ที่ ทุกคน ได้ผลทดสอบว่าแต่ละคนเป็นอย่างไร เป็นเนื้อหาเดียวกัน

บทความโดย สุภาพงษ์ นิลเกษ