กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชน อย่าชะล่าใจ เมื่อถูกสุนัข แมวกัด ข่วน แม้มีแผลเพียงเล็กน้อย หรือโดนกัด ข่วนนานแล้วก็ตาม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

1871
โรคพิษสุนัขบ้า

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชน อย่าชะล่าใจ เมื่อถูกสุนัข แมวกัด ข่วน แม้มีแผลเพียงเล็กน้อย หรือโดนกัด ข่วนนานแล้วก็ตาม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชน อย่าชะล่าใจ เมื่อถูกสุนัข แมวกัด ข่วน แม้มีแผลเพียงเล็กน้อย หรือโดนกัด ข่วนนานแล้วก็ตาม ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ โดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัยและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แนะประชาชนยึดหลัก “คาถา 5 ย.” ช่วยลดความเสี่ยงการ รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

จากข้อมูล พบว่าผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ถูกลูกสุนัขกัดหรือข่วน แล้วไม่ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเกิดจากความชะล่าใจ ในการป้องกันหลังสัมผัสสัตว์ที่เสี่ยงมีเชื้อเพราะคิดว่าเป็นลูกสัตว์ ที่นํามาเลี้ยงจึงน่าจะไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า และขาดความตระหนัก เพราะเห็นว่าเป็นรอยแผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น กรมควบคุมโรค จึงขอแนะนำประชาชนว่าหากท่านเคยถูกสัตว์เลี้ยงกัดหรือข่วนนานแล้ว แม้ว่ารอยแผลจะเพียงเล็กน้อยก็ตาม แล้วไม่ได้ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ขอให้ไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัย  เนื่องจากระยะฟักตัวของโรค ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนมีอาการป่วย อาจสั้นมากตั้งแต่ 1 สัปดาห์ หรืออาจนานถึง 1 ปีได้ โรคพิษสุนัขบ้า สามารถพบได้ตลอดทั้งปี ประเทศไทยจะพบมาก ในสุนัข แมว และโค กระบือ สัตว์ที่มีเชื้อมักแสดงอาการทั้งแบบ ดุร้าย และแบบซึม เช่น นิสัยเปลี่ยนไปจากเดิม ก้าวร้าวดุร้าย กัดไม่เลือก บางตัวอาจซึม อ้าปากค้าง เป็นอัมพาต กิน หรือ กลืนอาหารไม่ได้ และมีอาการทางระบบประสาท เช่น ซัก เดินโซเซ เห่าหอนผิดปกติ หรือไม่มีสาเหตุ โดยสุนัขที่แสดงอาการมักจะตาย ภายใน 10 วัน

กรมควบคุมโรค ขอแนะนําว่าหากถูกสุนัขและแมว กัด ข่วน หรือเลียบริเวณแผล แม้เพียงเล็กน้อย ควรรีบล้างแผลด้วยน้ำ  และสบู่ทันทีหลาย ๆ ครั้ง นานอย่างน้อย 10 นาที และใส่ยาใส่แผลสด (เบตาดีน) หลังล้างแผล จากนั้นรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการวินิจฉัย รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หากได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ควรไปตรงตามนัดทุกครั้ง และขอให้ประชาชน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ยึดหลัก “คาถา 5 ย.” ได้แก่

  1. อย่าเหยียบ บริเวณลําตัว ขา หรือหางของสัตว์ หรือ ทําให้สัตว์บาดเจ็บ
  2. อย่าแยก สัตว์ที่กําลังกัดกันด้วยมือเปล่า
  3. อย่าแหย่ สัตว์ให้รําคาญเพราะอาจโดนข่วนหรือกัดได้
  4. อย่าหยิบ อาหารขณะสัตว์กําลังกิน หรือสิ่งที่สัตว์หวง
  5. อย่ายุ่ง กับสัตว์ที่ไม่รู้จักคุ้นเคย ซึ่งจะช่วยลดความ เสี่ยงการรับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร.1422

Cr.กรมควบคุมโรค