กรมควบคุมโรค แนะประชาชนและผู้ประกอบอาหาร ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” ระวังอาหารที่บูดเสียง่าย อาจเสี่ยงป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ

334
โรคอาหารเป็นพิษ

กรมควบคุมโรค แนะประชาชนและผู้ประกอบอาหาร ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” ระวังอาหารที่บูดเสียง่าย อาจเสี่ยงป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ

พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพในสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ เพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทําให้ประชาชนส่วนใหญ่ อยู่บ้านเพื่อลดการติดเชื้อ จึงมีการประกอบอาหารเองหรือออกไปรับแจกจ่ายอาหารจากข้างนอกบ้าน แต่หากทําไม่ถูกวิธีอาจทําให้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้ โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงไม่สุกหรือไม่ผ่านความร้อน รวมถึงอาหารที่บูดเสียง่าย เช่น อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ คอแห้งกระหายน้ำและอาจมีไข้ได้ ในรายที่มีอาการถ่ายอุจจาระ มากๆ ผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกหมดสติได้

กรมควบคุมโรค ขอแนะนําว่า การปรุง การเก็บอาหาร ต้องคํานึงถึงความสะอาด ปลอดโรค ปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อน อาหารควรปรุงสุก รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ เก็บถนอมอาหารอย่างถูกวิธี และก่อนหยิบจับอาหารควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง โดยยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” สําหรับการช่วยเหลือ เบื้องต้น ควรให้จีบสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอส บ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคอาหาร เป็นพิษในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 23 เมษายน 2553 พบผู้ป่วยแล้ว 25,540 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบ มากที่สุด คือกลุ่มวัยอายุ 15-24 ปีรองลงมาคืออายุแรกเกิด – 4 ปี และอายุ 55 ปีขึ้นไป ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากร แสนคนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ สมุทรสงคราม ร้อยเอ็ด ปราจีนบุรี อุบลราชธานี และมุกดาหาร ตามลําดับ

Cr. กระทรวงสาธารณสุข