เตือน! ก่อนจะกินยาสังเกตลักษะยาก่อนทุกครั้ง อาจเป็นยาหมดอายุ ยาเสื่อมคุณภาพ นอกจากจะไม่สามารถรักษาโรคได้ ยังมีอันตรายถึงชีวิต

819
เตือน! ก่อนจะกินยาสังเกตลักษะยาก่อนทุกครั้ง อาจเป็นยาหมดอายุ ยาเสื่อมคุณภาพ นอกจากจะไม่สามารถรักษาโรคได้ ยังมีอันตรายถึงชีวิต

เตือน! ก่อนจะกินยาสังเกตลักษะยาก่อนทุกครั้ง อาจเป็นยาหมดอายุ ยาเสื่อมคุณภาพ นอกจากจะไม่สามารถรักษาโรคได้ ยังมีอันตรายถึงชีวิต

หลายคนๆ เริ่มเป็นกังวลเรื่องสุขภาพของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย และช่วงหน้าฝนนี้ หลายๆคน เริ่มป่วย และต้องหายาทานเอง

ปัจจุบันนี้มีร้านยาบางร้านแอบลักลอบ นำยาเก่า ที่อาจไม่ได้มาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพมาขาย เราจะมีวิธีสังเกตได้อย่างไร ว่ายาที่เราได้มาจากร้านยา เป็นยาเก่า หรือหมดอายุแล้วหรือยัง?

  1. ยาเม็ดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ สังเกตได้จากวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลาก หรือบรรจุภัณฑ์ แต่หากยาเม็ดไม่ได้บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์สามารถสังเกตได้จาก

?ยาเม็ด – เม็ดยาเยิ้ม เม็ดแตก ชื้น บิ่น เปลี่ยนสี

?ยาแคปซูล – เปลือกแคปซูลมักบวมโป่ง, มีจุดเชื้อราขึ้นที่เปลือกแคปซูล, ภายในแคปซูลผงยาอาจเปลี่ยนสี

?ยาผงแห้ง – ผงยาจะจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง ไม่สามารถละลายได้, ภาชนะบรรจุมีไอน้ำ หรือหยดน้ำเกาะ

  1. ยาน้ำรูปแบบต่าง ๆ นอกจากจะสามารถสังเกตดูวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากแล้ว ยังสามารถสังเกต สี กลิ่น และรสที่เปลี่ยนไป และสามารถสังเกตได้จาก

?ยาน้ำใส – มีตะกอนเกิดขึ้น หรือขุ่น

?ยาน้ำแขวนตะกอน – เมื่อเขย่าขวดแรง ๆ ยาจะไม่กลับมาเป็นเนื้อเดียวกันหรือตะกอนยังเกาะติดแน่นกัน

?อีมัลชั่น. – เขย่าแล้ว ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

  1. ยารูปแบบอื่น ๆ สามารถสังเกตได้จาก

?ยาขี้ผึ้ง – แยกชั้น สี เนื้อสัมผัส ความหนืด เปลี่ยนไป ของเหลวออกมาเยิ้มที่ผิวหน้าของยา มีกลิ่นเหม็นหืน

?ยาครีม – แยกชั้น สี เนื้อสัมผัส ความหนืด เปลี่ยนไป มีกลิ่นเหม็นหืน

?ยาเจล – เนื้อเจลขุ่น ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัย ก่อนใช้ยาทุกครั้งควรสังเกตลักษณะยาว่ามีการเปลี่ยนไปหรือไม่ หากยาที่พบนั้นผิดปกติ ไม่ควรใช้ยา เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และรีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที เพราะการที่นำเอายาที่หมดอายุ หรือไม่ได้มาตรฐานมาขาย จัดเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หากพบร้านยาใดนำยาหมดอายุ หรือไม่ได้มาตรฐานมาขายสามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 ในวันและเวลาราชการ

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) FDA