10 อาชีพที่ตลาดต้องการมากที่สุด และแนวโน้มสำหรับการทำงานในยุค “หลังโควิด”
แม้จะมีเสียงสะท้อนว่าโควิด-19 ทำให้คนจำนวนไม่น้อยอยู่ในภาวะ “ว่างงาน” แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีผู้ประกอบการ นายจ้าง อีกจำนวนไม่น้อยที่กำลัง “มองหาแรงงาน” โดยตำแหน่งงานที่มีการเปิดรับสมัครมากที่สุดจาก 3 เว็บไซต์จัดหางานที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย CobsDB, Jobbkk, Jobtha)
หลังสถานการณ์โควิดในประเทศไทยมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น พบว่ากลุ่มอาชีพที่มีตำแหน่งงานว่างและต้องการแรงงานมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
- อาชีพด้านงานขาย เช่น พนักงานขายหน้าร้าน, พนักงานขายออนไลน์, เจ้าหน้าที่ให้บริการด้านข้อมูลสินค้า,งานขายประกัน และ พนักงานขายทางโทรศัพท์
- ขนส่งและคลังสินค้า เช่น เจ้าหน้าที่จัดเรียงคลังสินค้า, เจ้าหน้าที่จัดส่งสินค้า, เจ้าหน้าที่จัดการสต๊อก โดยอาชีพนี้เลือกเข้างานป็นกะได้ และความต้องการอาชีพนี้อยู่ทุกพื้นที่
- อาชีพด้านไอที ซึ่งปัจจุบันมีความหลากหลาย เช่น โปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ Web Developer และผู้ดูแลระบบ
- วิศวกร เป็นกลุ่มอาชีพที่มีความต้องการสูง รองรับการลงทุนของบริษัทต่างประเทศที่มาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต การจัดการโรงงาน การดูแลมาตรฐานของโรงงาน รวมถึงการดูแลระบบเครื่องจักร เครื่องกล เพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพสูง
- ช่างเทคนิค เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ มีส่วนสำคัญในแรงงานการผลิต ทั้งโรงงาน ออฟฟิศ และหน่วยการผลิต มีความต้องการผู้ที่จบการศึกษาสายอาชีวะจำนวนมาก
- เจ้าหน้าที่บัญชี เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะด้านในการจัดการ เพื่อรองรับการยื่นภาษีของบริษัท ปิดสรุปงบ เพื่อให้องค์กรนำตัวเลขนี้ไปพัฒนาธุรกิจต่อไป
- เจ้าหน้าที่การเงิน ดูแลเรื่องการวางบิล ซื้อขาย ทวงหนี้ วางแผนการชำระหนี้ จัดการหนี้สินของบริษัท ยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
- เจ้าหน้าที่ธุรการและงานจัดซื้อ ที่คอยดูแลเรื่องการประสานงาน งานเอกสารขององค์กร ยังมีความต้องการอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
- อาชีพบริการลูกค้า/งานต้อนรับ แม้ว่าเทรนต์รุกิจจะเปลี่ยนไป แต่องค์กรก็ยังจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลกับลูกค้าหรือผู้บริโภค เกี่ยวกับบริการหลังการขาย รวมถึงงาน Call Center
- อาชีพการตลาดและประชาสัมพันธ์ ผู้ช่วยคิดแผนโปรโมชัน ทำงานร่วมกับทีมขายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ช่องทางโฆษณาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับความต้องการผู้บริโภค
แม้ 10 อาชีพข้างต้นจะมีความต้องการในตลาดแรงานในปัจจุบัน แต่ในภาพรวมตัวเลขผู้ว่างงานและการเลิกจ้าง ยังอยู่ในอัตราที่น่ากังวล จากการสำรวจของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดือน พ.ค.63 พบว่ามีตัวเลขการจ้างานในประเทศไทย 11,391,965 คน ลดลงจากช่วงเวลาเตียวกันของปีก่อน (พ.ศ.2562) 148,980 คน หรือเฉลี่ยการจ้างงานลดลง 1.29% ต่อปี
แม้โควิดจะทำให้หลายธุรกิจต้องปรับตัว ซึ่งหลายธุรกิจก็เริ่มจากการปรับลดพนักงาน แต่ก็มีหลายธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต และเป็นดาวรุ่ง
รศ.ดร.สมขาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระต้านเศรษฐศาสตร์ ได้วิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจในยุคหลังโควิด ดังนี้
ธุรกิจที่เติบโตขึ้น ได้แก่
- ธุรกิจไอทีต่างๆ เช่น การทำเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน บล็อกเชน (เครือข่ายการเก็บข้อมูล) เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจต่างๆ หันมาใช้บริการไอทีเหล่านี้มากขึ้นและกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ
- ธุรกิจจัดส่งสินค้าและอาหาร เนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ที่ผู้คนต้องอยู่กับบ้านทำให้มีการสั่งอาหารและสินค้าออนไลน์มากขึ้น และกลายเป็นวิถีชีวิตที่ผู้คนคุ้นชิน ส่งผลให้ธุรกิจจัดส่งสินค้าและอาหารมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว
- ธุรกิจที่เกิดใหม่ ได้แก่ คอร์สออนไลน์ต่างๆ เนื่องจากช่วงวิกฤตโควิด-19 คนหันมาสนใจศึกษาสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร งานศิลปะ การร้องเพลง การออกกำลังกาย หรือการเรียนออนไลน์เพื่อประกอบอาชีพต่างๆ ทำให้มีธุรกิจคอร์สสอนออนไลน์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย
ธุรกิจที่ต้องปรับตัว ได้แก่
- การขายสินค้าต่างๆ และธุรกิจค้าปลีก ต้องเพิ่มบริการขายผ่านระบบออนไลน์ ต้องนำระบบไอทีเข้ามาใช้ เนื่องจกวิกฤตโควิด-19 ทำให้คนหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น
- ห่วงโซ่การผลิต การจัดหาวัตถุดิบเพื่อเข้าสู่กระบวนการผสิตจะเปลี่ยนไป เนื่องจากทุกประเทศหันมาให้ความสำคัญต่อการผลิตและสั่งซื้อวัตถุดิบและสินค้าภายในประเทศมากขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาการขนส่งอันเนื่องมาจากผลกระทบของวิกฤตการณ์ต่างๆ นอกจากนั้น อุตสาหกรรมบางอย่างจะมีการย้ายฐานการผลิตกลับมาประเทศไทยด้วย
- การลงทุนในธุรกิจการเงิน จะกระจายไปในกลุ่มธุรกิจต่างๆ มากขึ้น โดยนักลงทุนจะกระจายความเสี่ยงเลือกลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย มากกว่าจะลงทุนในกลุ่มธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเพียงอย่างเดียว
- ธนาคารและสถาบันการเงินจะลดจำนวนสาขาและปรับลดพนักงานเร็วกว่าแผนที่วางไว้ เนื่องจากโควิด-19 ทำให้ลูกค้าหันมาใช้บริการ E-Banking กันมากขึ้น
ธุรกิจที่หายไปหรืลดจำนวนสาขาลง ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม สปา โรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในรายที่เงินทุนหรือสายป่านไม่ยาวพอก็ต้องปิดกิจการลง
เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า โควิด-19 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ และไม่ได้เปลี่ยนแค่การใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องของสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านของนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เข้ามาทดแทนในหลากหลายอาชีพ การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ย่อมทำให้มองเห็นโอกาสทั้งในการดำเนินธุรกิจและการประกอบอาชีพที่มีความมั่นคง
Cr. สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์