เอไอเอส สนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมบนเครือข่าย NB-IoT
11 กันยายน 2563 : เอไอเอส ผู้นำนวัตกรรม IoT อันดับหนึ่ง ที่มีโครงข่าย eMTC และ NB-IoT ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ร่วมสนับสนุนชุดอุปกรณ์ดิจิทัลแก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล ร่วมเสริมสร้างการเรียนรู้และวางรากฐานให้แก่นักศึกษาที่จะเป็นบุคลากรสำคัญในการเสริมขีดความสามารถของประเทศก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน
นายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ Digital Infrastructure เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ เรายังมีความมุ่งมั่นในการสร้าง IoT Ecosystems ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา จนสามารถพัฒนานวัตกรรมและนำเสนอเทคโนโลยี IoT ที่ใช้งานได้จริงสำหรับการใช้งานในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้าน Smart City, Smart Living, Smart Transportation & Logistics อันจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อสังคมไทยในอนาคตอันใกล้ เรามีความแข็งแกร่งในเรื่องของเครือข่ายสำหรับ IoT ตั้งแต่เครือข่าย NB-IoT ที่ประหยัดพลังงาน ไปจนถึงเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น 5G พร้อมสำหรับการเชื่อมต่อกับ IoT Platform เพื่อรองรับอุปกรณ์ IoT ที่หลากหลาย การใช้งาน Application และการสร้างเครือข่ายของผู้พัฒนา และ พาร์ทเนอร์ที่ช่วยสร้างความสามารถใหม่ๆ อันไม่เพียงจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์แก่สาธารณชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และประเทศไทยโดยรวม โดยการสนับสนุนต่อ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนาในครั้งนี้ นอกจากสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะบ่มเพาะขีดความสามารถของนิสิต นักศึกษา ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังถือเป็นต้นแบบของการสร้างระบบนิเวศน์ของอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง หรือ IoT Ecosystem ที่ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งผู้พัฒนาเครือข่าย ผู้พัฒนา Solutions/Application นักศึกษา ได้มาร่วมวิจัย และพัฒนาบริการให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแน่นอนว่าจะสร้างประโยชน์ให้แก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของประเทศในระยะยาวอย่างแน่นอน”
ดร.ประเสริฐ ลือโขง ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวว่า “ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นหนี่งมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีที่มีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ พร้อมมุ่งสู่ Digital University พัฒนาบุคลากร นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัย ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยการสนับสนุนของเอไอเอส จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งในมิติต่างๆ ทั้งในด้านองค์ความรู้ การพัฒนางานวิจัย ให้สามารถทำไปประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในยุคดิจิทัล ต่อสังคม ชุมชน อย่างยั่งยืน”
เกี่ยวกับ AIS
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ผู้นำด้าน Digital Life Service Provider อันดับ 1 ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการมากที่สุดรวม 1450 MHz และมีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดกว่า 41.1 ล้านเลขหมาย (ณ มีนาคม 2563) พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 5G ที่ปัจจุบันครอบคลุม 77 จังหวัดแล้วเป็นรายแรกผ่าน 3 สายธุรกิจ ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่, อินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ AIS Fibre และบริการดิจิทัล 5 ด้าน ได้แก่ วิดีโอ คลาวด์ ดิจิทัลเพย์เมนท์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และบริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ ตลอดจนขยายสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ อาทิ AIS eSports, AIS Insurance ทั้งหมดนี้ เพื่อสนับสนุนความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ ขยายขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยไปพร้อมกัน