สหรัฐฯทุ่มงบกว่า 284 ล้านเหรียญ เดินหน้าก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเชียงใหม่แห่งใหม่ คาดแล้วเสร็จปี 2566

23255

สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเชียงใหม่ จัดพิธีเปิดหน้าดินก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่ มูลค่าการลงทุนกว่า 8,800 ล้านบาท เกิดการว่าจ้างแรงงานในท้องถิ่นกว่า 400 คน

วันที่ 25 กันยายน 2563 สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเชียงใหม่ จัดพิธีเปิดหน้าดินสถานกงสุลแห่งใหม่ โดยในวันนี้ สหรัฐอเมริกาเริ่มการก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่ได้ก่อตั้งสถานกงสุลขึ้นครั้งแรกที่นี่เมื่อ 70 ปี ที่แล้ว โดยออกแบบอาคารหลังใหม่ให้คงอยู่ต่อไปอีกอย่างน้อย 70 ปี สหรัฐฯ โดยสถานกงสุลที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือแห่งนี้ ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีของไทยมายาวนานเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ต่อสู้กับการค้ายาเสพติด และสร้างงานจำนวนมาก

S 16039944

สถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่มีกำหนก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี 2566 และจะกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ประจักษ์ถึงความมุ่งมั่นที่สหรัฐฯ มีต่อภาคเหนือของไทยต่อไปในอนาคต โดยโครงการก่อสร้างดังกล่าวมีมูลค่าการลงทุน 284 ล้านเหรียญสหรัฐ (8,800 ล้านบาท) และทำให้เกิดการว่าจ้างแรงงานในท้องถิ่นกว่า 400 คน

EA Compound Main Entry

การออกแบบสถานกงสุลใหญ่ได้รับแรงบันดาลใจจากภูมิทัศน์และรูปแบบการสร้างอาคารในภาคเหนือที่มีความหลากหลาย โดยผสมผสานภูมิทัศน์ที่เขียวชอุ่มเข้ากับ “ศาลา” ซึ่งมีลักษณะเป็นระเบียงเปิดโล่งเพื่อใช้จัดงานที่เป็นทางการ อาคารสำนักงานแห่งใหม่นี้ยังสะท้อนถึงลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านนาโบราณ โดยการใช้พื้นที่สาธารณะกั้นส่วนต่าง ๆ ของอาคารออกจากกัน

EA Compound Main Plaza

สำนักงานฝ่ายศิลป์ประจำสถานเอกอัครราชทูต กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะจัดแสดงชุดผลงานหลากหลายสื่อศิลป์เป็นการถาวร ซึ่ง มีทั้งภาพวาด ภาพถ่าย สิ่งทอ และประติมากรรมจากศิลปินทั้งชาวอเมริกันและชาวไทย นอกจากนี้ ยังจะจัดแสดงผลงานที่รังสรรค์ขึ้นเฉพาะ สำหรับสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่นี้ เพื่อสะท้อนถึงความหลากหลายและความรุ่มรวยของมรดกทางวัฒนธรรมของสหรัฐฯ และไทย

S 16039961

โครงการดังกล่าวยังมีเป้าหมายที่จะได้รับการรับรองมาตรฐาน Leadership in Energy and Environmental Design (LEED®) ระดับ Silver โดยมีองค์ประกอบที่โดดเด่นด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์และระบบน้ำที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ระดับประเทศของไทยในการใช้พลังงานทดแทนและการพัฒนาคุณภาพอากาศ องค์ประกอบที่ยั่งยืนอื่น ๆ ได้แก่ ระบบควบคุมอาคาร อัตโนมัติ การติดตั้งสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ ตลอดจนกรอบอาคารที่ช่วยปรับลดอุณหภูมิภายใน ซึ่งประกอบด้วยหน้าต่างที่ลดความร้อนจาก แสงอาทิตย์ และการออกแบบรูปด้านโครงสร้างโดยรอบภายนอกอาคารโดยใช้แผงบังแดด

S 16039987

เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมรี กล่าวว่า “การก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่นี้เป็นสัญลักษณ์ที่ แสดงถึงความมุ่งมั่นที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ต่อภาคีและพันธมิตรในภาคเหนือ เราชื่นชมสถาปัตยกรรมและการออกแบบล้านนา และในขณะเดียวกันก็ยังมุ่งลงทุนกับแรงงานและเศรษฐกิจในท้องถิ่น เพื่อให้ไทยและอเมริกามีความยั่งยืนและมั่งคั่งยิ่งขึ้นสืบไป”

S 16039988

“ชาวอเมริกันและชาวไทยมีประวัติศาสตร์ร่วมกันในภาคเหนืออันเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจยิ่ง และเราก็หวังที่จะสานต่อความสำเร็จอีกมากมาย ที่เราจะบรรลุร่วมกันในภายภาคหน้า” กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเชียงใหม่ ฌอน โอนีลล์ กล่าว

S 16039985

“การสร้างสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่ยิ่งแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมถึงความไว้วางใจและความมุ่งมั่นที่เรามีต่อกันในฐานะมิตรและหุ้นส่วนที่ ยาวนาน อีกทั้งยังเปิดศักราชใหม่แห่งการยกระดับความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในภาคเหนือ” นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ กล่าว

S 16039946
S 16039947S 16039966

OApMmE.jpgS 16039975
S 16039983
S 16039984
S 16039981
S 16039990S 16039962
S 16039963
EA Consular Arrival
EA Consular Waiting
EA New Office Building Cafe and Hub
EA New Office Building Main Lobby
EA New Office Building Main Stairs
EA New Office Building Terrace
EA Outdoor Sala