ประกันสังคมแจง ขานรับนโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (UCEP) แนะเพียงใช้ บัตรประจําตัวประชาชนใบเดียว แจงสิทธิผู้ประกันตนเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับการรักษา ได้ทุกโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลภาครัฐ และเอกชน โดยไม่ต้องสํารองจ่าย ภายใน 72 ชั่วโมง
นายทศพล กฤติวงศ์วิมาน เลขาธิการสํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลได้กําหนดให้ดําเนินการนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (UCEP) เพื่อลดความเลื่อมล้ําด้านการรักษาพยาบาลของประชาชนในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยเริ่มดําเนินโครงการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นมา วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาล ของรัฐและเอกชนได้ทุกแห่ง เป็นการบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทันท่วงที โดยผู้ป่วยฉุกเฉินไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเข้ารักษาจนพ้นภาวะวิกฤต หรืออาการที่แพทย์ประเมินแล้วเคลื่อนย้าย ได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง (นับรวมวันหยุด) ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยอันตรายหรือเจ็บป่วย ฉุกเฉินวิกฤตเข้าตามหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคาม ต่อชีวิต เช่น หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เป็นต้น
เลขาธิการสํานักงานประกันสังคม กล่าวย้ําถึงสิทธิของผู้ประกันตนที่ได้รับการประเมินอาการให้เป็น เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ดังกล่าว สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด จนพ้นภาวะวิกฤต หรือสามารถเคลื่อนย้ายได้ แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง (นับรวมวันหยุด) โดยไม่ต้องสํารองจ่าย ทั้งนี้ขอให้ผู้ประกันตน หรือโรงพยาบาลที่รับการรักษา หรือผู้เกี่ยวข้อง โปรดแจ้งโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนสังกัดอยู่โดยเร็ว เพื่อจะได้ ดําเนินการรับช่วงการรักษาหรือให้บริการทางการแพทย์กับผู้ประกันตนต่อไป เพียงใช้บัตรประจําตัวประชาชน ใบเดียว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สํานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/ จังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวกหรือสายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง