กองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคม ม.แม่โจ้ – ชุมพร รับรางวัล Green Youth ระดับทอง จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

179

กองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคม ม.แม่โจ้ – ชุมพร รับรางวัล Green Youth ระดับทอง จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ทีมเยาวชน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เข้ารับรางวัล ผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2562 ซึ่งจัดโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับเกียรติจาก นางภาวินี ณ สายบุรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในงานมอบรางวัลฯ โดยมี อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี ที่ปรึกษาคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พร้อมตัวแทนนักศึกษา เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ กรุงเทพมหานคร

message 001

ตามที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินโครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ประจำปี 2562 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม Green Youth สู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) อย่างเต็มภาคภูมิ และได้มีการพิจารณา ติดตามผลการดำเนินงานแล้วนั้น ปรากฏว่า ทีม “ชมรมกองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคม” ของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ผ่านการประเมินอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานระดับทอง ซึ่งเป็น 1 ใน 8 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จากมหาวิทยาลัยที่ผ่านเกณฑ์ประเมินฯ ทั้งสิ้น จำนวน 43 แห่ง โดยดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร” มีสมาชิกในชมรม 3 คน ได้แก่ นางสาวธิดาพร คำแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ นายศักดิ์คีรินทร์ เพชรประดับ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ และนายศุภสิน เม่งช่วย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชารัฐศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินโครงการ และมีผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมฯ

timeline 20201215 155730

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโครงการ“การพัฒนาพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร” เป็นการดำเนินกิจกรรมใน 4 ลักษณะ คือ 1.)สำรวจผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ขยะแห้ง ขยะอินทรีย์ คุณภาพน้ำ รวมถึงด้านพลังงานไฟฟ้า และน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจากผลสำรวจยังไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบ 2.)จัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมภายในเช่น การนำขยะอินทรีย์ในพื้นที่ไปกำจัดอย่างเป็นระบบ เปลี่ยนเป็นปุ๋ย หรือ นำผลจากการสำรวจพฤติกรรมการใช้พลังงาน มาสร้างการรับรู้ กระตุ้นเตือน รณรงค์ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นต้น 3.)จัดกิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลในพื้นที่สาธารณะ โดยจัดการสัมมนาธรรม(ธรรมชาติ/ทำ) ความจริงให้ปรากฏ สร้างการรับรู้ในวงกว้าง และ 4.)นำผลจากการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาสร้างความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย ในพื้นที่บ้านดินพอเพียง ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เช่น การนำปุ๋ยที่ได้จากกำจัดขยะมาใช้ในการปลูกพืชอาหารท้องถิ่น ซึ่งดำเนินการตามหลักปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง

timeline 20201216 085038

สำหรับรางวัลที่ได้รับในครั้งนี้ ถือเป็นรางวัลสำคัญที่ช่วยสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักศึกษาและทีมงานที่มีความห่วงใยสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นว่าแม้เป็นเพียงฟันเฟืองเล็กๆ ก็สามารถพลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ชัดเจน ตอบสนองนโยบายมหาวิทยาลัยในการก้าวสู่ Green University สามารถตอบสนองนโยบายชาติในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และหลังจากนี้ทางทีมงานจะขยายผลการดำเนินงานให้เป็นนโยบายสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร สร้างการมีส่วนร่วมในองค์กรในวงกว้างและชัดเจนยิ่งขึ้น”
…………
ทีมงานสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้ //รายงาน

timeline 20201216 085039
timeline 20201216 085042
timeline 20201216 085043
timeline 20201216 085044
green youth 01

timeline 20201215 155734
timeline 20201216 075000
timeline 20201216 075003
timeline 20201216 075004
timeline 20201216 075005
timeline 20201216 075008
timeline 20201216 085035
timeline 20201216 085036