ลำพูนออกมาตรการผ่อนคลาย ร้านหมูกระทะ ชาบู บุฟเฟต์ ใน อ.เมือง-ลี้ เปิดได้แต่ให้เฉพาะซื้อกลับเท่านั้น
คําสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลําพูน ที่ 3/2564 เรื่อง มาตรการผ่อนคลายให้ร้านหมูกระทะ ชาบู บุฟเฟต์ ในเขตพื้นที่อําเภอเมืองลําพูน และอําเภอลี้ จังหวัดลําพูน เปิดดําเนินการได้เฉพาะการนํากลับไปบริโภคที่อื่น
ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลําพูน ได้มีคําสั่งที่ 1/2564 ลงวันที่ 1 มกราคม 2564 ปิตสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในพื้นที่จังหวัดลําพูน เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะได้ประเมินสถานการณ์และมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงต่อไปนั้น
เพื่อเป็นการผ่อนคลายให้ร้านหมูกระทะ ขาบู บุฟเฟต์ ในเขตพื้นที่อําเภอเมืองลําพูน และอําเภอลี้ จังหวัดลําพูน สามารถดําเนินการหรือทํากิจกรรมบางอย่างได้ ภายใต้มาตรการที่จําเป็นเพื่อป้องกันและควบคุม การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในพื้นที่จังหวัดลําพูน และลดผลกระทบต่อประชาชน ผู้ประกอบการ ร้านค้า ทางด้านเศรษฐกิจและการดําเนินชีวิต ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 (7) มาตรา 34 (6) และมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบข้อ 2 ของข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ข้อ 7 (1) ของข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และประกาศ เรื่อง การให้ข้อกําหนด ประกาศ คําสั่ง และค้าสั่งที่นายกรัฐมนตรีกําหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังมีผล ใช้บังคับ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดลําพูน ในฐานะผู้กํากับการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดลําพูน และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัดลําพูน ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้ร้านหมูกระทะ ชาบู บุฟเฟต์ ในเขตพื้นที่อําเภอเมืองลำพูน และอําเภอลี้ จังหวัดลําพูน เปิดดําเนินการได้เฉพาะการนํากลับไปบริโภคที่อื่น
ข้อ 2. ให้เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ 1. มีหน้าที่รับผิดชอบการดูแลรักษาความสะอาด ของสถานที่ ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ และจัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนด ดังนี้
1) มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ใช้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สําหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการ
2) จัดให้มีการทําความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการ ให้บริการ และให้กําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
3) ให้พนักงานและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ
4) จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
5) จัดให้มีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืน ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
6) ให้ควบคุมจํานวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด หรือพิจารณากําหนดมาตรการลดเวลา ในการใช้บริการให้สั้นลงเท่าที่จําเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
7) ให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ โดยติดตั้งและสแกนแอปพลิเคชั่น ไทยชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนได้
ข้อ 3. ให้นายอําเภอและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจตรวจสอบการด้าเนินการของเจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ 1. เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด หากพบการกระทํา ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้คําแนะนํา ตักเตือน ห้ามปราม และมีอํานาจ กําหนดช่วงระยะเวลาเพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันมิให้มีการแพร่ของโรค รวมทั้งเสนอให้ผู้มีอํานาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีคําสั่งปิดสถานที่ในพื้นที่รับผิดชอบไว้ เป็นการชั่วคราวเฉพาะราย และอาจดําเนินคดีอาญาตามกฎหมายต่อผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้
ข้อ 4. หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามมาตรา 34 (6) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และหากฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดลําพูน ตามมาตรา 35 (1) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และเป็นความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
อนึ่ง การดําเนินการตามคําสั่งเป็นไปตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จึงไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วย การจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาทางปกครอง ตามมาตรา 16 ของพระราชกําหนดดังกล่าว และเนื่องจาก เป็นกรณีที่มีความจําเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะได้ประเมินสถานการณ์และมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงต่อไป
สั่ง ณ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลําพูน ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลําพูน ผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดลําพูน