ทนายดังชี้ชัด! กรณีหนุ่มนั่งคร่อมรถคุยโทรศัพท์ไม่ผิด ชี้ข้อหาที่แจ้งใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าขับขี่อยู่แสดงว่ารถต้องแล่น แต่เหตุการณ์ดังกล่าวชายหนุ่มได้จอดรถเพื่อรับโทรศัพท์
จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Guy Thanapon ได้โพสต์คลิปที่เป็นภาพระหว่างการสนทนากับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สน.บางโพ โดยทางด้านตำรวจจราจรได้บอกใบสั่ง ในข้อหา ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ซึ่งทางเจ้าของคลิปนั้น ได้มีการสอบถาม เนื่องจากไม่เข้าใจว่าทำไมตนจอดรถชิดขอบทางเพื่อรับโทรศัพท์ ถึงยังถูกออกใบสั่งได้ โดยทางตำรวจก็ได้ชี้แจงว่า ถ้าจะรับโทรศัพท์ต้องจอดรถแล้วลงมาจากรถ จะรับในขณะที่อยู่บนรถไม่ได้ โดยทำให้เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก
จอดรถรับโทรศัพท์ #แต่ค่อมรถไว้ผิดกฏหมายโดนจับนะครับ ระวังกันไว้ด้วย#พื้นที่บางโพงพาง
โพสต์โดย Guy Thanapon เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2019
ทาง ศูนย์โซเชียลมีเดีย ศปก.ตร. ได้ออกมาชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าว โดยกล่าวว่ากรณีนี้ทาง สน.บางโพงพาง ได้ชี้แจงว่า ผู้โพสต์ได้หยุดรถบริเวณสัญญาณไฟจราจรทางข้าม ปากซอยสาธุประดิษฐ์ 34 โดยไม่ดับเครื่องยนต์ หลังจากนั้นได้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาใช้งาน ซึ่งอยู่ระหว่างการควบคุมรถ หลังจากนั้นสักพักจึงได้ขับขี่รถออกมา ด.ต.ดิเรกฯ จึงได้เรียกให้หยุดและขอตรวจสอบใบอนุญาตขับขี่พร้อมกับแจ้งข้อหาให้ทราบว่าใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ พร้อมได้ออกใบสั่งและได้เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้ ตามใบสั่งเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เลขที่ 19 เล่มที่ 401186 ชี้การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะรถจอดติดสัญญาณไฟแดง “โดยไม่มีอุปกรณ์สำหรับสนทนา” เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เนื่องจากผู้ขับขี่รถ ถือว่าเป็นบุคคลผู้ใช้ทางเดินรถ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งที่เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนี้ มิใช่ตีความตามพจนานุกรม กรณีการจอดรถในขณะติดสัญญาณไฟแดง ยังถือว่าผู้ขับขี่ต้องควบคุมรถอยู่ตามกฎหมายจราจร และพร้อมที่จะขับเคลื่อนต่อไปเมื่อมีสัญญาณไฟเขียว ผู้ขับขี่จำเป็นต้องมีสติและสมาธิตลอดเวลาในการใช้มือทั้งสองข้างควบคุมรถ
#นั่งคร่อมรถ จอดอยู่ ใช้โทรศัพท์มือถือมีความผิดด้วยหรือขับรถกลับจอดรถหรือหยุดรถคนละความหมายใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถจึงจะมีความผิดเพราะมันรบกวนสมาธิในการขับขี่อาจเป็นอันตรายกับคนอื่น#แต่ถ้าหยุดรถหรือจอดรถใช้โทรศัพท์มือถือมันไม่เป็นอันตรายกับคนอื่นไม่มีความผิดนะครับเจ้านาย#ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ใช่ศาลประชาชนไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาในอดีตเคยตัดสินมาแล้วนะครับลองไปเปิดอ่านดูบ้างนะครับเช่นคำพิพากษาฎีกาที่ 6968 / 2545คำพิพากษาฎีกาที่ 2210 / 2544 เป็นต้น
โพสต์โดย ทนายคลายทุกข์ เมื่อ วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2019