เริ่มแล้ว 1 เม.ย.นี้ กระทรวงสาธารณสุข ขยายพื้นที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ครบทุกจังหวัด

68

เริ่มแล้ว 1 เม.ย.นี้ กระทรวงสาธารณสุข ขยายพื้นที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ครบทุกจังหวัด

DJ5Dtt.jpg กระทรวงสาธารณสุข ให้ทุกจังหวัดเตรียมฉีดวัคซีนโควิด 19 กลุ่มเป้าหมายพร้อมกันวันที่ 1 เม.ย.นี้ เผยกระจายวัคซีนซิโนแวค 8 แสนโดสให้พื้นที่ควบคุมการระบาด 6 จังหวัด 3.5 แสนโดส พื้นที่ท่องเที่ยว 8 จังหวัด 2.4 แสนโดส พื้นที่ชายแดน 8 จังหวัด 5 หมื่นโดส และจังหวัดที่เหลือ เพื่อซักซ้อมความพร้อมก่อนเริ่มฉีดวัคซีนล็อตใหญ่ในเดือนมิถุนายน เน้นบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ด่านหน้า โดยให้จังหวัดขนาดเล็ก 800 โดส จังหวัดขนาดใหญ่ 1,000 โดส และจังหวัดใหญ่พิเศษ 1,200 โดส และอสม.จังหวัดละ 1,000 โดส

ANN 7323

บ่ายวันนี้ (30 มีนาคม 2564) นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และผู้บริหาร ประชุมทางไกลนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ เรื่องแผนการกระจายวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เห็นชอบการเปิดประเทศภายในเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งการเปิดประเทศอย่างปลอดภัยจะต้องฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในระดับจังหวัดให้ได้ร้อยละ 50-60 ของประชากร โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นเป้าหมายการเดินทางของชาวต่างชาติ และจังหวัดที่อาจจะมีชาวต่างชาติเดินทางไป ดังนั้น การกระจายและฉีดวัคซีนจะใช้สามเหลี่ยมขับเคลื่อนวัคซีน คือ 1.Area โดยจัดลำดับพื้นที่ เน้นอำเภอที่เป็นจุดเสี่ยงระบาดและมีนักท่องเที่ยว ฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรด่านหน้า/ เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงให้ครอบคลุมมากที่สุดก่อน แล้วกระจายอำเภออื่นลดหลั่นลงไป 2.Setting หรือสถานที่ฉีด อาจดำเนินการเพิ่มได้ในโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือการออกหน่วยบริการ เพื่อให้มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยมีขั้นตอนการฉีดตามมาตรฐาน เน้นการสังเกตอาการให้ครบ 30 นาทีหลังฉีด และมีทีมแพทย์ดูแลเรื่องความปลอดภัย และ 3. Data ดำเนินการเรื่องข้อมูลผ่านระบบไลน์หมอพร้อม

ANN 7385

นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า สำหรับวัคซีนโควิด 19 ของซิโนแวคจำนวน 8 แสนโดส จะกระจายให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ เริ่มดำเนินการฉีดวันที่ 1 เมษายน 2564 ดังนี้ 1.จังหวัดเป้าหมาย 22 จังหวัด ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เพื่อควบคุมการระบาดของโรค 6 จังหวัด 3.5 แสนโดส, พื้นที่ท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 8 จังหวัด 2.4 แสนโดส โดยอาจเพิ่มกลุ่มพนักงานโรงแรม และพนักงานขับรถสาธารณะ และพื้นที่ชายแดนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 8 จังหวัด 5 หมื่นโดส เน้นผู้ที่ทำงานที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ปฏิบัติในสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสถานกักตัว และ 2.จังหวัดอื่นๆ ที่เหลือจำนวน 1.6 แสนโดส เพื่อซักซ้อมความพร้อมทุกจังหวัดก่อนเริ่มฉีดวัคซีนจำนวนมากในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป โดยกระจายให้จังหวัดขนาดเล็ก ประชากรน้อยกว่า 1 ล้านคน จำนวน 800 โดส, จังหวัดขนาดใหญ่ ประชากร 1 -1.5 ล้านคน จำนวน 1,000 โดส และจังหวัดขนาดใหญ่พิเศษมีประชากรมากกว่า 1.5 ล้านคน จำนวน 1,200 โดส เน้นการฉีดในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า นอกจากนี้ ยังเตรียมวัคซีนสำหรับ อสม.อีกจังหวัดละ 1,000 โดส ดังนั้น จังหวัดขนาดเล็กจะได้รับวัคซีน 1,800 โดส จังหวัดขนาดใหญ่ได้รับวัคซีน 2,000 โดส และจังหวัดขนาดใหญ่พิเศษจะได้รับวัคซีน 2,200 โดส

ANN 7300

สำหรับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า 1 ขวด ตามปกติสามารถฉีดได้ 10 โดส โดสละ 0.5 มิลลิลิตร เนื่องจากผู้ผลิตได้บรรจุวัคซีนมาเผื่อ โดย 1 ขวดมีวัคซีนปริมาณ 6.5 มิลลิลิตร หากบริหารจัดการการฉีดอย่างดีอาจฉีดได้ 11-12 โดสต่อขวด จะทำให้ฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชาชนมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ขอให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำรวจความต้องการผู้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ตามความสมัครใจ