คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เตือนประชาชนตระหนักถึง ฝุ่น PM2.5 สาเหตุโรคมะเร็งปอดมะเร็งปอด
มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่น่ากลัว อดีตเรามักคิดว่ามะเร็งปอดสัมพันธ์กับบุหรี่แต่ปัจจุบันจะเห็นว่าทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย คนที่ไม่สูบบุหรี่ก็ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดด้วยเช่นกันและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากหลายๆสาเหตุ เช่น เราไม่ได้สูบบุหรี่แต่อยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ หรือผู้สัมผัสสารพิษในโรงงานแร่ใยหิน หรือมีกรรมพันธุ์ก็อาจจะเกิดเป็นมะเร็งปอดขึ้นมาได้ เป็นต้น
ปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 2.5 เท่า หากเราไม่มีความเสี่ยงอะไรแต่เราอยู่ในสภาวะที่มี PM2.5 จะทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1-1.4 เท่า ซึ่ง PM2.5 เป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอน เล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นเมื่อ PM2.5 ลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอด จะเข้าไปโดยที่เราไม่รู้สึกตัวและป้องกันไม่ได้ เมื่อเข้าไปในปอดแล้วก็จะทำให้เกิดการอักเสบ มีการกลายพันธุ์ของ DNA RNA หากร่างกายได้รับสาร PM2.5 ในปริมาณมากและยาวนานเกินไป ร่างกายต่อสู้ไม่ไหวจะทำให้กลายเป็นมะเร็งปอดได้ โดยมะเร็งที่พบสัมพันธ์กับ PM2.5 ก็คือเป็นชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarcinoma) หรือมะเร็งชนิดต่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดชนิดนี้ได้มากกว่าผู้ชาย ส่วนคนที่สูบบุหรี่อยู่แล้วเมื่อสูด PM2.5 เข้าไปจะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดจะทวีคูณขึ้นเป็น 2 เท่า
อยากให้ประชาชนตระหนักถึง PM2.5 ซึ่งสารก่อมะเร็งอันดับ 1 มีความร้ายแรงเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ โดยที่มีการเทียบระหว่าง PM22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เท่ากับการสูบบุหรี่ 1 มวน นอกจากจะตระหนักแล้ว ควรป้องกันตนเองเอง ป้องกันครอบครัว อีกด้วย
ข้อมูลโดย รศ.พญ.บุษยามาส ชีวสกุลยง หัวหน้าหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่