ค้านวันเวย์ ถ.ราชดำเนิน! ชุมชนใจกลางเมืองเก่าเชียงใหม่ ย่านวัดพันอ้น-หมื่นล้าน ไม่เห็นด้วย ร้องให้คืนสภาพเดิม ชี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนมากมาย

1762

ชุมชนใจกลางเมืองเก่าเชียงใหม่ ย่านวัดพันอ้น-หมื่นล้าน ร่วมกับพระครูอมรธรรมทัต ออกโรงเรียกร้องให้คืนสภาพถนนราชดำเนินกลับมาดังเดิม หลังปรับเปลี่ยนเป็นวันเวย์ตามโครงการ “นำร่องพัฒนาย่านเดินได้เดินดี “เตียว-หย้อง-เมืองเชียงใหม่” ได้เพียงอาทิตย์เดียว ชี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนมากมาย

ตามที่ เทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง(UddC)ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำโครงการนำร่องพัฒนาย่านเดินได้เดินดี “เตียว-หย้อง-เมืองเชียงใหม่” กำหนดให้ถนนราชดำเนินตั้งแต่หัวถนนใกล้ข่วงประตูท่าแพถึงวัดพระสิงห์ฯ เป็นการเดินรถในทางเดียว(วันเวย์) วัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสุขภาวะคนเมืองเชียงใหม่ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เทศบาลนครเชียงใหม่แจ้งว่าได้เสนอขอความเห็นชอบต่อที่ประชุม คณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันพุธที่ 17 มีนาคม 2564 มติที่ประชุมเห็นชอบในหลักการดำเนินการดังกล่าว ไม่ขัดข้องในการทดลองจัดระบบการจราจร มีกำหนดระยะเวลา 1 เดือนนั้น

1116512

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการ กลุ่มงานจราจรตำรวจภูธรเชียงใหม่ ชี้แจงว่าเริ่มตั้งแต่ 1.วันพฤหัสบดีที่ 29 และวันศุกร์ที่ 30 เมษายน 64 ฝ่ายวิศวกรรมจราตรเข้าดำเนินการทำเครื่องหมายช่องทางจราจร 2.ในวันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม 64 จัดทำลูกศรบนพื้นทาง เพื่อแนะนำทิศทางการเดินรถบนถนนที่ต่อเชื่อมกับถนนราชดำเนิน คือ ถนนราชภาคินัย ถนนพระปกเกล้า ถนนจ่าบ้าน และถนนสามล้าน 3.หลังจากขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์ และป้ายจราจรบังคับแล้วเสร็จ และนำติดตั้งบริเวณถนนและทางแยกบนถนนราชดำเนินแล้ว จึงเริ่มการทดลองเดินรถทางเดียว และจัดระเบียบการเดินรถ การจอด การใช้ช่องทางตามที่กำหนด 4.ปรับรูปแบบสัญญาณไฟจราจร แยกกลางเวียง, ทำลูกศรบนพื้นทางถนนราขดำเนิน, ติดตั้งอุปกรณ์จราจร ตามรูปแบบ จากนั้นเริ่มดำเนินการทดลองจัดระบบการเดินรถ มาตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2564

1116514

ผลดำเนินการเพียงระยะ 2-3 วันแรกมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมโซเซียลมากมาย ทั้งที่เห็นด้วยว่าสะดวกในการจอดรถแล้วไปทำธุระหรือทำงานบริเวณนั้น บ้างก็นำรถมาจอดตามแนวจอดซึ่งเป็นกลางถนนแล้วใช้ผ้าคลุมไว้ และไม่เห็นด้วยว่า จะมีปัญหาถ้าเปิดเทอมหรือในห้วงปกติที่โควิด-19 คลี่คลายแล้ว การจราจรบริเวณนี้จะแออัดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากพื้นที่ครึ่งหนึ่งของถนนหายไป และที่สำคัญกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวชุมชนตั้งแต่ย่านวัดหมื่นล้าน-ร้าน ก.ท่าแพ วัดพันอ้น-วัดสำเภา, ไปถึงชุมชนสี่แยกกลางเวียง,ชุมชนวัดชัยพระเกียรติ จนถึงวัดทุงยู และวัดศรีเกิด

1116515

ล่าสุด เมื่อบ่ายวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ที่หน้ากุฏิพระครูอมรธรรมทัต เจ้าอาวาสวัดพันอ้น มีชาวชุมชนใกล้เคียงเข้าหารือกับเจ้าอาวาส ยืนยันไม่เห็นด้วยกับการทำโครงการดังกล่าวของเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยระบุว่า ตั้งแต่การประชุมขอความเห็นชอบเบื้องต้นแล้ว ชาวชุมชนไม่ทราบและไม่ได้เข้าร่วมกันพร้อมเพรียง พอมาพ่นสีตีเส้นแล้วปักหมุดทำแนวจอดรถกลางถนนโดยให้เลนซ้ายสุดเป็นทางจักรยาน ชาวชุมชนก็ได้รับผลกระทบมากขึ้น โดยเกรงว่าถ้าเปิดเทอมใหม่แล้วจะยิ่งก่อปัญหาการจราจรมากขึ้นแน่นอน และผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอย คนทำมาหากินบริเวณนี้จะเดือดร้อนเหมือนคนอยู่บนถนนท่าแพ ที่กลายเป็นถนนวันเวย์ไปแล้ว ฝั่งหนึ่งทำกิจการใดๆไม่ได้

1116520

ทั้งนี้ พระครูอมรธรรมทัต ได้สรุปผลกระทบ 7 ข้อ คือ 1. กรณีรถสองแถว/สี่ล้อแดงหรือรถตุ๊กๆ เวลาจอดรับผู้โดยสารก็จะต้องจอดบนช่องทางเดินรถ ทำให้รถตามหลังมาติดขัดมากขึ้น 2.กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินรถที่มาปฏิบัติงานต้องจอดปิดทาง ทำให้รถตามหลังมาไปไม่ได้ 3.เช่นเดียวเวลาเกิดอุบัติเหตุ รถตามหลังมาก็ขยับไม่ได้เช่นกัน 4.กรณีรถที่จอดกลางถนนเวลาเปิดประตูรถขาดความระมัดระวัง รถวิ่งตามมาอาจชนเข้ากับประตูทำให้เสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน 5.กรณีรถไฟฟ้ามาซ่อมไฟสาธารณะก็ต้องจอดบนทางเปิด การจราจรจะติดขัดอย่างแน่นอน 6.การจัดให้รถวิ่งทางเดียว เป็นการทำลายวิถีชีวิตการทำมาค้าขายของประชาชนที่อยู่ย่านถนนราชดำเนิน เพราะเดิมรถวิ่งสองทางทำให้สะดวกไปมา-เข้าบ้านก็ไม่มีปัญหา หากจัดเดินรถแบบนี้ต่อไปจะหาที่จอดรถยาก ไม่สะดวก การจราจรแออัด ร้านค้าบนถนนสายนี้ก็จะตายไปทีละร้านของร้าน 7.การเปลี่ยนเส้นทางหลักของเมือง ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ถนนราชดำเนิน” ซึ่งเดิมสวนทางกันได้ มาเป็นวิ่งทางเดียวระวังจะเกิดอาเพศกับบ้านเมืองกับผู้ที่คิดเปลี่ยนแปลงสิ่งที่บรรพชนได้สร้างเอาไว้ เช่น คนที่ปิดเส้นทางเดิน อาจตาบอด เจ็บป่วยหนัก ต้องรับทุกขเวทยา จึงขอเตือนคนที่จะเปลี่ยนเส้นทางที่คนโบราณได้สร้างเอาไว้ ระวังจะเกิดอาเพศพิบัติอย่างแรง

1116523
1116524
1116525
1116526
1116527