สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตอบข้อสงสัย ของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า กรณีวัคซีนที่บรรจุในขวดจึงมีปริมาตร มากกว่าที่ระบุไว้ และสามารถนำมาใช้ได้ไหม ?
Q1 : วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า บรรจุวัคซีนมาเกิน จริงหรือไม่ ?
A1 : จริง ในวัคซีน 1 ขวด มีปริมาตร 6.5 ซีซี จากมาตรฐานของการบรรจุ 10 โดส โดยการฉีด 1 โดส ใช้วัคซีน 0.5 ซีซี ดังนั้น ในวัคซีน 1 ขวด จึงปริมาตรสุทธิของวัคซีนเท่ากับ 13 โดส
Q2 : ทำไม? ผู้ผลิตจึงใส่วัคซีนมาเกิน
A2: เป็นมาตรฐานการผลิตวัคซีนที่บรรจุใน 1 ขวด แบบมีหลายโดส (Multiple-Dose Vial) ที่จะบรรจุให้เกิน 20-30 % ในการใช้งานจริง มักจะมีการสูญเสียวัคซีนไป ซึ่งเกิดจากการดูดวัคซีนจากขวดในแต่ละครั้งเกินไป ทีละนิดบ้าง หรือบางครั้งหากจำเป็นต้องใช้ Syringe ขนาด 3 ซีซี ก็ทำให้ความแม่นยำน้อยลง และผู้ฉีดก็มีแนวโน้มที่จะดูดวัคซีนให้เกินมานิดๆ เพื่อให้มั่นใจว่าได้ปริมาตรวัคซีนเต็มจำนวน การบรรจุมาเกินเผื่อไว้ให้ในการทำงานจริงมีวัคซีนครบ 10 โดส ใน 1 ขวด
Q3: การดูดวัคซีนให้ได้มากกว่า 10 โดส ถือว่าไม่ได้มาตรฐานหรือไม่
A3 : องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกข้อแนะนำว่าสามารถทำได้ แต่ให้ผู้ฉีดวัคซีนระมัดระวัง ที่จะต้องมั่นใจว่าปริมาตรวัคซีนในแต่ละโดสที่ได้ต้องตรงตามข้อกำหนดของผู้ผลิต (0.5 ซีซี)
ตอนที่วัคซีนไฟเซอร์ เพิ่งเริ่มใช้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเกาหลีใต้ ก็ได้พยายามดูดวัคซีนให้ได้ 6-7 โดส จากมาตรฐานการบรรจุ 5 โดสใน 1 ขวด เช่นกัน เป็นข้อปฏิบัติที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข ของ 3 ประเทศนั้นให้การยอมรับว่าสามารถทำได้ และได้รับคำชื่นชม จากทั่วโลกว่าสามารถเพิ่มจำนวนวัคซีนที่จะมาฉีดให้กับประชาชน
Q4: มั่นใจมั้ยว่าพยาบาลไทย จะสามารถทำได้แบบต่างประเทศ
A4: มั่นใจ เนื่องจากที่ผ่านมา ตั้งแต่ไทยได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1.1 แสนโดส นั้นเจ้าหน้าที่พยาบาลของสถาบันบำราศนราดูร ได้ระดมความคิด เพื่อหาวิธีการดูดวัคซีนให้ได้จำนวนโดสมากที่สุด แต่ให้คงมาตรฐานว่าในแต่ละโดส ต้องมีปริมาตรตรงตามที่กำหนด และถ่ายทอดวิธีการนี้ต่อๆกัน และทางโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ที่เป็นพื้นที่การระบาดในตอนต้น ก็ได้จัดทำวีดีโอแนะนำการดูดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าให้ได้ 12 โดส
Q5: เป็นไปได้ไหม ? ที่ 1 ขวด จะดูดได้วัคซีน 13 โดส?
A5: เป็นไปได้ยาก เพราะปริมตรวัคซีนที่เหลืออยู่จะติดอยู่ก้นขวด หรือจุกยาง ไม่สามารถดูดออกมาได้ และองค์การอนามัยโลก ไม่แนะนำให้เปิดจุกยาง เพื่อเอาวัคซีนที่เหลือติดก้นขวดนั้นมาผสมกัน เพราะมีโอากสจะเกิดการปนเปื้อนสูงมาก เป็นผลเสียต่อสุขภาพของผู้รับวัคซีน
Q6: หาก 1 ขวดได้ 12 โดส เท่ากับมีวัคซีนเพิ่มขึ้น ?
A6 : อาจจะมีเพิ่มได้ แต่ในการทำงานจริงจะมี การสูญเสียวัคซีนจากการปฏิบัติงานได้ เช่น ทำขวดแตกเกิดารปนเปื้อนระหว่างการดูดวัคซีน วัคซีนเหลือในระหว่างวันที่ไม่ครบจำนวนคนไม่สามารถนำกลับไปแช่เย็นใหม่ได้ ฯลฯ จุดละเล็กละน้อยก็เป็นจำนวนการสูญเสียวัคซีนหลายล้านโดสได้ เหตุการณ์ทำนองนี้เป็นเหตุสุดวิสัย เกิดขึ้นได้แม้จะมีการระมัดระวังเป็นอย่างดี โดสที่ได้เพิ่มมา ก็กลายเป็นส่วนชดเชยของการสูญเสียวัคซีน หักลบกัน อาจไม่มีจำนวนวัคซีนเพิ่มขึ้นมา ดังนั้นการรณรงค์การฉีดวัคซีนโควิด 19 ในครั้งนี้ หากทุกฝ่ายร่วมมือกันทั้งระมัดระวัง มิให้เกิดการสูญเสียวัคซีนให้เกิดน้อยที่สุด ก็จะเกิดประโยชน์กับภาพรวมของประเทศ
Q7 : ถ้าเจ้าหน้าที่ทำไม่ได้ จะเป็นความผิดหรือไม่ ?
A7: ส่วนนี้เป็น แนวทางปฏิบัติร่วมมือร่วมใจกัน ของเจ้าหน้าที่ในการรณรงค์การฉีควัคซีนของประเทศ
หากไม่สามรถดำเนินการเพิ่มจำนวนโดสได้ หรืออาจดูดวัคซีนได้เพียง 11 โโส ไม่ได้ถือเป็นความผิดของผู้ปฏิบัติแต่อย่างใด เพราะในแต่ละพื้นที่อาจมีข้อจำกัดต่างๆกันไป การฉีดวัคซีนให้ได้คุณภาพ มาตรฐานที่ดีเป็นหัวใจสำคัญ แต่ถ้าสามารถทำได้ก็เป็นประโยชน์เพิ่มเติมขึ้นมาอย่างที่กล่าวไว้แล้ว
ที่มา : สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
ลิ้งค์บทความ : https://www.facebook.com/nvikm/posts/1895169213991598