ทำความรู้จักโควิด-19 กลายพันธุ์ ทั้ง 5 สายพันธุ์ มีอะไรบ้าง ระดับรุนแรง แต่ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน เราก็ต้องดูแลตัวเองให้ดี ปฏิบัติตาม D-M-H-T-T การ์ดอย่าตก!!
สายพันธุ์ B.1.1.7 (GR,G) หรือสายพันธุ์อังกฤษ
- พบครั้งแรก : ที่อังกฤษ เดือนกันยายน 63
- ลักษณะพิเศษ : ผิวไวรัสมีการกลายพันธุ์ จับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้น
- อัตราการแพร่เชื้อ : แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมราว 40-90%
- ความรุนแรง : ป่วยและเสียชีวิตมากขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่น ราว 1.65 เท่า ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ยน้อยลง มีภาวะปอดอักเสบต้องใส่ท่อช่วยหายใจมากขึ้น มีการกลายพันธุ์คล้ายสายพันธุ์ B.1.351 ลดประสิทธิภาพวัคซีน
สายพันธุ์ B.1.351 (GH,G) หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้
- พบครั้งแรก : ที่แอฟริกาใต้ เดือนธันวาคม 63
- ลักษณะพิเศษ : หนามโปรตีน N501Y,E484K มีการกลายพันธุ์ ไวรัสจับตัวเซลล์ได้ดีขึ้น เชื้อแพร่กระจายได้ง่าย อัตราการแพร่เชื้อ : แพร่เชื้อไว ขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ราว50%
- ความรุนแรง : ลดประสิทธิภาพการทำงานของแอนติบอดี ทำให้คนติดเชื้อง่าย หนีจากภูมิคุ้มกันได้ดี ลดประสิทธิภาพของวัคซีนได้
สายพันธุ์ P.1 (GR) สายพันธุ์บราซิล
- พบครั้งแรก : ที่บราซิล เดือนธันวาคม 63
- ลักษณะพิเศษ : โปรตีนหนาม N501Y,K417T,E484K มีการกลายพันธุ์
- อัตราการแพร่เชื้อ : แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 2.5 เท่า หรือราวๆ 25-60%
- ความรุนแรง : ยึดเกาะกับเซลล์ร่างกายมนุษย์ได้ดี ลดประสิทธิภาพการทำงานของแอนติบอดี พลาสมา หรือระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงกว่ากว่าสายพันธุ์อื่นๆ
สายพันธุ์ B.1.6.1.8 หรือสายพันธุ์เบงกอล
- พบครั้งแรก : ที่ประเทศอินเดีย เดือนตุลาคม 2563
- ลักษณะพิเศษ : หนามตำแหน่ง H146 และ Y145 หายไป และตำแหน่ง E484K และ D614G กลายพันธุ์
- อัตราการแพร่เชื้อ : มีหลักฐานการแพร่เชื้อ ที่เร็วขึ้นมากในรัฐเบงกอลตะวันตก
- ความรุนแรง : ไวรัสสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี และส่งผลต่อประสิทธิภาพวัคซีนที่มีอยู่เดิม รุนแรงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ขณะนี้ยังไม่มีผลแน่นอนเกี่ยวกับความรุนแรงของสายพันธุ์นี้ออกมา
สายพันธุ์ B.1.6.7 หรือสายพันธุ์อินเดีย
- พบครั้งแรก : ที่อินเดีย เดือนธันวาคม 2563
- ลักษณะพิเศษ : หนามของอนุภาคไวรัสหลายตำแหน่งมีการกลายพันธุ์ การกลายพันธุ์เป็นแบบคู่ double mutant
- อัตราการแพร่เชื้อ : แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ราว 20%
- ความรุนแรง : ไวรัสแพร่กระจายตัวได้เร็ว ผู้ติดเชื้อมีอาการแย่ลง รวมถึงไวรัสสามารถหลบภูมิคุ้มกันที่มีการติดเชื้อก่อนได้ จึงทำให้หลบวัคซีนได้
ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
ลิ้งค์ข่าว : https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/photos/a.717595134932676/6240054832686651/