คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผย หากมือมีบาดแผล แค่สัมผัสหมูดิบ อาจถึงตายได้ ไม่ใช่แค่หูดับ แนะหากมีบาดแผล ปิดแผลให้มิดชิด ควรสวมถุงมือทุกครั้ง หมั่นล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสหมู และหากมีอาการป่วย ให้รีบพบแพทย์ทันที จะช่วยลดอัตราการหูหนวกและเสียชีวิตได้

201

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผย หากมือมีบาดแผล แค่สัมผัสหมูดิบ อาจถึงตายได้ ไม่ใช่แค่หูดับ แนะหากมีบาดแผล ปิดแผลให้มิดชิด ควรสวมถุงมือทุกครั้ง หมั่นล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสหมู และหากมีอาการป่วย ให้รีบพบแพทย์ทันที จะช่วยลดอัตราการหูหนวกและเสียชีวิตได้

เชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (STREPTOCOCCUS SUIS) อยู่ในทางเดินหายใจ และอยู่ในเลือดของหมูที่ป่วย และติดต่อจากหมูสู่คน การติดเชื้อไม่ได้เกิดจากระบบการหายใจ แต่เป็นการติดเชื้อผ่านบาดแผลตามร่างกาย หรือเข้าทางเยื่อบุตา หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ
ติดต่อได้โดย
1 .เกิดจากการบริโภคเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่ดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ
2. เกิดจากการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ รวมทั้งเนื้อหมู เครื่องในหมู และเลือดของหมูที่เป็นโรค โดยติดต่อสู่คนทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย
อาการของผู้ที่ติดเชื้อ
อาการทั่วไป
-ไข้สูง
-อุจจาระร่วง
-เวียนศีรษะ
-หอบเหนื่อย
-หนาวสั่น
อาการเฉพาะ
– เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้ ปวดศีรษะมาก คอแข็ง
– หากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทหู จะทำให้การได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลัน จนถึงขั้นหูหนวกทั้งสองข้าง
-บางรายติดเชื้อในเลือดอย่างรุนแรง
-ผู้ป่วยที่รอดชีวิตบางรายยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่น หูหนวกทั้ง 2 ข้าง และเป็นอัมพาตครึ่งซีก
การป้องกัน
1.หลีกเลี่ยงการบริโภคหมูดิบ ปรุงให้สุกจนเนื้อไม่มีสีแดง ไม่ทานสุกๆ ดิบๆ
2. หากมีบาดแผล รอยขีดข่วน ต้องปิดแผลให้มิดชิด สวมถุงมือ ก่อนสัมผัสเนื้อหมูดิบทุกครั้ง และเมื่อสัมผัสแล้วให้ล้างมือให้สะอาดทันที
ข้อแนะนำ
-ควรเลือกซื้อเนื้อหมู จากตลาดสด หรือ ห้างสรรพสินค้า ที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน
-ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ
– ไม่บริโภคเนื้อหมูดิบโดยเด็ดขาด
– ไม่บริโภคเนื้อหมูที่ป่วย หรือหมูตายจากโรค
-สำหรับผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ แม่ค้าหมูสด ควรสวมรองเท้าบู๊ทยาง สวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง
** หากมีอาการป่วยหลังสัมผัสหมู หรือหลังทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ ให้รีบพบแพทย์ทันที จะช่วยลดอัตราการหูหนวกและเสียชีวิตได้
ข้อมูลโดย ผศ.พญ.ศณัฐธร เชาวน์ศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ลิ้งค์บทความ : https://www.facebook.com/medcmuth/posts/4172790086092649