สาระน่ารู้ เกี่ยวกับบทความโควิด-19 ลักษณะอาการเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสโควิด-19 ในด้านของนักวิทยศาสตร์ ตั้งข้อสงสัย โควิด-19 ไม่ได้เกิดจากฝีมือมนุษย์แต่เกิดจากธรรมชาติ 

227

สาระน่ารู้ เกี่ยวกับบทความโควิด-19 ลักษณะอาการเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสโควิด-19 ในด้านของนักวิทยศาสตร์ ตั้งข้อสงสัย โควิด-19 ไม่ได้เกิดจากฝีมือมนุษย์แต่เกิดจากธรรมชาติ 

ไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 มาจากไหนใช่จีนที่ทดลอง ปล่อยให้ระบาดไปทั่วโลก

ตามที่อเมริกากล่าวหาหรือไม่? ไวรัสโคโรนา หรือ โรค COVID-19 คือ โรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งพบการระบาดในช่วงปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยในตอนนั้นเราจะรู้จักกันโรคนี้ในชื่อว่า ไวรัสอู่ฮั่น ก่อนที่ภายหลังจะระบุเชื้อก่อโรคได้ว่าเป็นเชื้อในตระกูลโคโรนาไวรัส แต่เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น ทางองค์การอนามัยโลก จึงได้ตั้งชื่อโรคติดต่อชนิดนี้ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยมีชื่อว่า COVID-19 เพื่อไม่ให้เกิดรอยมลทินกับพื้นที่ที่เกิดการระบาดของโรคด้วย

อาการเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสโควิด-19
จากข่าวที่ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวหาประเทศจีนว่าเป็นต้นตอแพร่เชื้อโควิดจากการทดลองไปทั่วโลกนั้นคงไม่น่าจะจริงเพราะว่าโรคนี้เกิดตามธรรมชาติจากเชื้อไวรัส โคโรนาเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินระบบหายใจ เกิดโรคทางเดินระบบหายใจ มีมานานกว่า 60 ปี แล้ว และจัดเป็นเชื้อไวรัสตระกูลใหญ่ที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยชื่อโคโรนาก็มีที่มาจากลักษณะของเชื้อไวรัสที่รูปร่างคล้ายมงกุฎ (Corona เป็นภาษาละตินที่แปลว่ามงกุฎ) เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้มีสารพันธุกรรมเป็น RNA มีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบไปด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ไขมันเป็นปุ่ม ๆ ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส อธิบายง่าย ๆ คือเป็นเชื้อไวรัสที่มีหนามอยู่รอบตัว จึงสามารถเกาะตัวอยู่ในอวัยวะที่เป็นเป้าหมายของเชื้อไวรัสได้

โคโรนาไวรัสเป็นเชื้อที่ก่อโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ เนื่องจากตัวไวรัสมีสารพันธุกรรม RNA ซึ่งมีโอกาสกลายพันธุ์สูง สามารถติดเชื้อข้ามสปีชีส์กันได้ โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีการรวมตัวของสัตว์อย่างหนาแน่น เช่น ตลาดค้าสัตว์ เป็นต้น ดังนั้นต้นตอการแพร่ระบาดของโรคก็อาจจะมาจากสัตว์ปีก เช่น นก ค้างคาว ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ม้า วัว แมว สุนัข กระต่าย หนู อูฐ รวมไปถึงสัตว์เลื้อยคลานอย่างงู เป็นต้น

จริง ๆ แล้วเราเจอกับโคโรนาไวรัสกันอยู่เนือง ๆ เพราะอย่างที่บอกว่าโคโรนาไวรัสมีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ก่อให้เกิดโรครุนแรง เป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ก็มีโคโรนาไวรัสบางสายพันธุ์ที่ก่ออาการรุนแรงจนถึงขั้นปอดอักเสบได้ เช่น โรคซาร์ส ที่มีสาเหตุมาจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV ข้ามสปีชีส์จากค้างคาวมาสู่ตัวชะมด แล้วมาติดเชื้อในคน และโรคเมอร์ส ที่มีสาเหตุมาจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ MERS-CoV ข้ามสปีชีส์จากค้างคาวสู่อูฐ และมาติดเชื้อในคน และล่าสุดกับเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อโรค COVID-19 ซึ่งเป็นโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่แกะกล่อง

โคโรนาไวรัสเป็นเชื้อที่ไม่สามารถอยู่เดี่ยว ๆ ได้ แต่จะแฝงตัวอยู่ในละอองฝอยจากการไอ จาม และสารคัดหลั่งอย่างน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระ ดังนั้นการแพร่เชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ต้องได้รับเชื้อผ่านการสูดดมละอองฝอยขนาดใหญ่และละอองฝอยขนาดเล็กในอากาศ รับเชื้อเข้าไปในทางเดินหายใจ หรือใครที่อยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1-2 เมตร ก็อาจจะติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดใหญ่ และฝอยละอองขนาดเล็กจากการไอ จาม รดกันโดยตรง หรือหากอยู่ห่างจากผู้ติดเชื้อในระยะ 2 เมตรขึ้นไป ก็อาจติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดเล็กได้เหมือนกัน

นอกจากนี้โคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ ยังอาจแพร่เชื้อโดยการสัมผัสได้ เช่น การจับของใช้สาธารณะร่วมกัน แล้วมาสัมผัสเยื่อบุต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ขยี้ตา สัมผัสปาก หรือหยิบของกินเข้าปาก เป็นต้น

จริง ๆ แล้วเราสามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงการติดเชื้อโคโรนาไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค COVID 19 ได้ ดังนั้นอยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพและรักษาสุขอนามัยของตัวเองให้ดี จะได้ห่างไกลจากโรคนี้กันถ้วนหน้า
ต้นกำเนิดของโควิด-19

ปัจจุบันการระบาดของโควิด-19 (COVID-19) ถือเป็นการระบาดทั่วโลก (pandemic) โดยมีสาเหตุมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) หรือชื่ออย่างเป็นทางการในปัจจุบัน คือ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2: SARS-CoV-2) เป็นไวรัสที่สามารถติดต่อและทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ

จากการจัดลำดับจีโนมแสดงให้เห็นว่า เป็นไวรัสอาร์เอ็นเอชนิดสายเดี่ยว ที่มีลำดับสารพันธุกรรมเหมือนเอ็มอาร์เอ็นเอ (Positive-sense single-stranded RNA virus) โดยมีการแจ้งกรณีต้องสงสัยกรณีแรกให้องค์การอนามัยโลกทราบในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ผู้ป่วยรายแรกมีอาการเจ็บป่วยปรากฏขึ้นเมื่อสามสัปดาห์ก่อนหน้านั้น คือ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562กรณีผู้ป่วยในช่วงแรกหลายราย มีความเชื่อมโยงกับตลาดขนาดใหญ่ซึ่งจำหน่ายอาหารทะเลและสัตว์ที่มีชีวิตเป็นอาหาร ในนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน และเชื่อว่าเชื้อไวรัสนี้มีต้นกำเนิดจากสัตว์ เพราะตลาดขายสัตว์ที่มีชีวิตเป็นอาหารเช่นนี้ ก็เคยถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นศูนย์บ่มเพาะที่สมบูรณ์แบบสำหรับเชื้อโรคที่แปลกใหม่และถูกตำหนิในการแพร่ระบาดของโรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546 นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานจากการเปรียบเทียบลำดับทางพันธุกรรมของไวรัสนี้และตัวอย่างไวรัสอื่น ๆ ได้แสดงความคล้ายคลึงกับ SARS (79.5%) และไวรัสโคโรนาในค้างคาว (96%) ซึ่งทำให้สมมติฐานที่ว่า ไวรัสชนิดนี้ต้นกำเนิดในค้างคาวเป็นไปได้มากที่สุด

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในวันที่ 30 มกราคม 2563 และประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่ว ในวันที่ 11 มีนาคม 2563 ซึ่ง ณ ปัจจุบัน วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.​ 2564 มีผู้ติดเชื้อยืนยันทั่วโลกแล้วมากกว่า 193,371,433 คนใน 222 ประเทศและดินแดน การระบาดเป็นวงกว้างของโรคโควิด-19 และวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์นี้ ทําให้เกิดความท้าทายใหญ่หลวงในระดับโลก และระดับท้องถิ่น ผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมเกิดขึ้นกับกลุ่มคนทุกกลุ่ม แต่บ่อนทําลายกลุ่มประชากรเปราะบางมากที่สุด ซึ่งรวมถึง คนยากจน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เยาวชน และกลุ่มคนชาติพันธุ์ วิกฤตโลกในครั้งนี้ ต้องการการประสานงาน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคมและสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพในทุกๆ ประเทศทั่วโลก ถึงจะคลี่คลายสถานการณ์ในครั้งนี้ เพื่อประชาคมโลกจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขต่อไป

โควิด-19 ไม่ได้เกิดจากฝีมือมนุษย์แต่เกิดจากธรรมชาติ
มีข้อถกเถียงกันมาตลอดหลายเดือนนี้ว่าโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 เป็นผลมาจากฝีมือมนุษย์หรือไม่ แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมของ SARS-CoV-2 และไวรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ไวรัส SARS-CoV-2 ไม่ได้ถูกสร้างในห้องปฏิบัติการ แต่เป็นกระบวนการคัดเลือกทางธรรมชาติ ซึ่งไวรัสนี้อาจจะไหลเวียนอยู่ในมนุษย์โดยไม่ทำอันตรายใดๆ มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ก่อนที่จะกลายเป็นโรคระบาดร้ายแรงไปทั่วโลก

คริสเตียน แอนเดอร์สัน นักภูมิคุ้มกันวิทยา สถาบันวิจัยสคริปป์ หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยระบุในบทความที่ตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการ Nature Medicine เมื่อวันที่ 17 มีนาคมว่า “จากการเปรียบเทียบการข้อมูลทางพันธุกรรมของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่มีอยู่ เรายืนยันได้ว่า SARS-CoV-2 มีต้นกำเนิดมาจากกระบวนการทางธรรมชาติ”

ทีมนักวิจัยระบุว่า เป็นไปได้ที่แหล่งกำเนิดของไวรัส SARS-CoV-2 เข้ามาอยู่ในมนุษย์ ได้รับลักษณะทางพันธุกรรมใหม่ผ่านการปรับตัวระหว่างการถ่ายทอดระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ “การปรับตัวของไวรัสหลังจากมันเข้ามาในมนุษย์อาจจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดขึ้น และทำให้เกิดกลุ่มผู้ติดเชื้อขึ้น

หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ไวรัส SARS-CoV-2 ไม่ได้มาจากฝีมือมนุษย์มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 และไวรัสโคโรนาอื่นๆ ที่คล้ายกัน นักวิจัยพบว่า Receptor-Binding Domain (RBD) บนสไปก์โปรตีน (spike protein) วิวัฒนาการจนมีประสิทธิภาพในการจับเยื่อหุ้มเซลล์ของมนุษย์ในตำแหน่ง ACE2 ซึ่งเป็นตัวรับที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตของมนุษย์

ส่วนหลักฐานที่ชี้ว่าเป็นกระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติมาจากโครงสร้างทางโมเลกุลของ SARS-CoV-2 นักวิทยาศาสตร์พบว่า โครงสร้างทางโมเลกุลของมันแตกต่างจากโครงสร้างของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่มีอยู่แล้ว และส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับไวรัสที่พบในค้างคาวและตัวนิ่ม

สำหรับต้นกำเนิดของไวรัส ทีมวิจัยมีสมมติฐาน 2 ข้อ สมมติฐานแรก การคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดขึ้นในสัตว์ที่เป็นโฮสต์ก่อนที่ไวรัสจะถูกถ่ายทอดไปยังมนุษย์ โดยอธิบายแม้ว่าตัวอย่างของโคโรนาไวรัสที่พบในค้างคาวและตัวนิ่มจะมีพันธุกรรมคล้ายกัน แต่ไม่ตรงกันเสียทีเดียวนัก สมมติฐานที่ 2 การคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดขึ้นในมนุษย์ หลังจากที่ไวรัสถูกถ่ายทอดมาจากสัตว์ที่เป็นโฮสต์ ก่อนที่มันจะทำให้เกิดโรคในมนุษย์ได้

จากนั้น ผลจากวิวัฒนาการทีละน้อยตลอดหลายปีที่ผ่านมาหรืออาจจะเป็นสิบปี ไวรัสก็สามารถแพร่กระจายจากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ จนทำกลายเป็นโรคร้ายแรงถึงชีวิต

แม้ว่าจะไม่รู้ว่าสมมติฐานทั้งสองข้อนี้จะถูกต้องหรือไม่ นักวิจัยคิดว่าในอนาคตจะมีข้อมูลมากกว่านี้ เพื่อวัดว่าข้อใดเป็นไปได้มากกว่า

อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดจากธรรมชาติได้กลายเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวงการวิชาการ ไม่นานมานี้ ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงกว่า 24 คนได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับต้นตอของเชื้อไวรัสโควิด-19ว่าเกิดจากธรรมชาติบนวารสาร ‘The Lancet’ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานใดสนับสนุนทฤษฎีที่ว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 หลุดออกมาจากห้องทดลองของจีน

ปัจจุบันเจ้าหน้าที่และนักวิจัยของสถาบันวิจัยฯยังคง “ไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เลยแม้แต่คนเดียว”
หยวน จื้อหมิง ผู้อำนวยการและนักวิจัยของห้องทดลองความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติจีนในอู่ฮั่นคงเน้นย้ำว่า “ก่อนวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ.2019 สถาบันวิจัยไวรัสวิทยาอู่ฮั่นไม่เคยสัมผัส จัดเก็บ หรือดำเนินการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัสดังกล่าว และไม่เคยมีแผนที่จะสร้างและปล่อยเชื้อไวรัสให้แพร่กระจายออกจากห้องทดลอง ปัจจุบันเจ้าหน้าที่และนักวิจัยของสถาบันวิจัยฯยังคง “ไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เลยแม้แต่คนเดียว”

ควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างยิ่งขึ้น เพื่อให้การสืบหาต้นตอของเชื้อไวรัสดำเนินไปได้ด้วยดี มีนักวิทยาศาสตร์ของหลายประเทศยังคงดำเนินการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเชื้อไวรัสโควิด-19อยู่ และยังมีผลการศึกษาและวิจัยจำนวนมากบ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อุบัติขึ้นในหลายแห่งทั่วโลกก่อนที่จะเกิดการระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในอู่ฮั่นของจีนเสียอีก ซึ่งการค้นพบใหม่นี้ชี้ว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 มีรูปแบบการแพร่การจายระหว่างมนุษย์และสิ่งของ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในระบบการขนส่งแบบควบคุมอุณภูมิ/อาหารแช่แข็งเป็นสิ่งที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน (NHC) กล่าวในงานแถลงข่าวว่า “จีนไม่ยอมรับแผนดำเนินการสืบหาต้นตอของเชื้อไวรัสโควิด-19 ฉบับนี้ที่ไม่เคารพต่อสามัญสำนึกและขัดต่อหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยแผนการสืบหาต้นตอของเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งที่ 2 ขององค์การอนามัยโลกได้รับการแทรกแซงทางการเมืองอย่างหนัก ซึ่งเดิมทีแผนการนี้มีจุดประสงค์เพื่อสืบหาต้นตอและเส้นทางการแพร่ระบาดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดใหญ่ขึ้นอีกครั้ง แต่กลับต้องถูกการเมืองของสหรัฐฯทำให้หลงทาง

กระบวนการสืบหาต้นตอของเชื้อไวรัสโควิด-19มีความซับซ้อนและประกอบด้วยหลากหลายปัจจัย โดยจะดำเนินงานให้ได้ผลดีจะมีวิสัยทัศน์ที่กว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของการสืบหาต้นตอของเชื้อไวรัสฯที่ทั่วโลกต้องบูรณาการจากหลายฝ่าย