กระทรวงยุติธรรม เผยข้อกฎหมาย หากเป็น “ชู้” ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

1819

กระทรวงยุติธรรม เผยข้อกฎหมาย หากเป็น “ชู้” ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

กระทรวงยุติธรรม เผยประเด็นเรื่องการคบชู้ ไม่ว่าในฝ่ายหญิงหรือชาย สามารถฟ้องร้องเรียกค่าทดแทน หรือที่เรียกกันว่า ค่าเสียหาย ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 แต่หลักสำคัญคือ หญิงและชายจะต้องจดทะเบียนสมรสกันเสียก่อน และศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ

กฎหมายกําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทางชู้สาวก็ได้ สามารถอธิบายโดยสรุปว่า เพียงชายชู้มีพฤติกรรมล่วงเกินภรรยาในทางชู้สาว ก็เพียงพอแล้วที่จะทําให้เกิดสิทธิฟ้องเรียกค่า ทดแทน โดยการล่วงเกินในทางชู้สาวนั้น ไม่จําเป็นจะต้องถึงขั้นว่ามีเพศสัมพันธ์กัน เพียงจับเนื้อต้องตัวกัน ในลักษณะที่ไม่เป็นไปในศีลธรรม หรือในทํานองคลองธรรมในทางเพศ เช่น หอมแก้ม กอดจูบ หรือนอนกอดกัน ก็ถือว่าเป็นการล่วงเกินไปในทํานองชู้สาวแล้ว
กฎหมายกําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทํานองชู้สาวก็ได้ จะต้องเป็นกรณีที่หญิงชู้หรือภริยาน้อยแสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนเป็นหญิงชู้หรือภริยาน้อยของสามี เช่น มีการพาไปออกงาน พาไปแนะนําให้ญาติพี่น้องหรือคนที่ ทํางานรู้ว่าเป็นแฟนกัน หรือไปอยู่บ้านเดียวกัน หรือมีบุตรด้วยกันและให้บุตรใช้นามสกุลสามี
เรื่องนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับครอบครัว ต้องฟ้องร้องดําเนินคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ไม่สามารถไปแจ้งความดําเนินคดีเอาผิดต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือพนักงานสอบสวนในทางอาญา ยกเว้นแต่ พบว่า อีกฝ่ายหนึ่งจดทะเบียนสมรสซ้อนแล้วแต่กรณี และคดีนี้ มีอายุความในการดําเนินคดีกับชายชู้หรือเมียน้อยต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงเกี่ยวกับการมีชู้หรือการล่วงเกินภริยาในทํานองชู้สาว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529
คดีความเกี่ยวกับชู้สาวลักลอบคบซ้อนกันหากจะเอาความดำเนินคดี ต้องตั้งทนายฟ้องคดีแพ่ง ดังนั้นการที่สามี-ภรรยานอกใจคบชู้ จึงไม่มีเหตุจำเป็นต้องมาแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวัน เว้นเสียแต่เกิดการตบตีทะเลาะวิวาทกันเท่านั้น

ข้อมูล ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) มาตรา 1523 และมาตรา 1529