เชียงดาวจุดความร้อนลดลง 70% สั่ง จนท.เฝ้าดู ย้ำห้ามเกิดไฟในพื้นที่ป่า ชี้ “ชีวมณฑล” ป่าเชียงดาวมีความสำคัญ สัตว์ใกล้สูญพันธุ์มีมาก

131

เชียงดาวจุดความร้อนลดลง 70% สั่ง จนท.เฝ้าดู ย้ำห้ามเกิดไฟในพื้นที่ป่า ชี้ “ชีวมณฑล” ป่าเชียงดาวมีความสำคัญ สัตว์ใกล้สูญพันธุ์มีมาก

วันที่ 12 มี.ค. 65 นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะ ลงพื้นที่ให้กำลังใจ ฝ่ายปกครองท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยประชาชนจิตอาสาฯ ในการรวมพลังจัดทำแนวกันไฟรอบป่าชุมชน ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์ ว่า ก่อนหน้านี้มีการประชุมร่วมกับนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท. หน่วยงานป่าไม้ ปภ.สาขาเชียงดาว ทีมงานของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันไฟป่าและหมอกควันของอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดย ศูนย์บัญชาการแก้ไขสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันฯ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเข้าหารือร่วมกันถึงแนวทางในการป้องกันไฟป่าที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่สำคัญ

199d3ac935a2881b8e778570531d0c8f.jpg

“ประการแรกต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกคนที่ช่วยกันงดการเผาในพื้นที่ป่า ทั้งป่าอนุรักษ์ ป่าชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเชียงดาวเป็นพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชีวมณฑล โดยยูเนสโกประกาศซึ่งเป็น 1 ใน 5 แห่งของโลก ที่นี่มีสัตว์ป่าสงวนไม่ว่าจะเป็นกวางผา เรียงผา เป็นสัตว์ป่าหายาก วันนี้ก็ได้มีการพูดคุยกับผู้นำผ่านไปยังพี่น้องประชาชนขอให้งดการเผาในเขตป่า เพื่อที่จะอนุรักษ์สัตว์ป่าเหล่านี้ไว้ ตลอดจนชอความร่วมมือการเฝ้าระวังในพื้นที่ไม่ให้มีการเผาในพื้นที่ป่า ขอความร่วมมือในการบริหารจัดการเชื้อเพลิง รวมถึงการสร้างความเข้าใจในการประสานการทำงานระหว่างท้องที่ ท้องถิ่น” นายวรวิทย์ฯ กล่าว

dd4c95d79ebf9df58e37796e9e2b691a.jpg

“ในวันนี้มีการทำแนวกันไฟ ซึ่งสภาพป่าโดยรวมบริเวณป่าชุมชนแห่งนี้มีความสมบูรณ์ ก็เนื่องมาจากพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการปกป้องป่าชุมชนแห่งนี้ พื้นที่อำเภอเชียงดาวมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ราว 3 แสนกว่าไร่ เขตอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง อีกราว 3 แสนกว่าไร่ รวมๆ มีพื้นที่ที่ต้องให้ความสำคัญราว 6 แสนกว่าไร่ ที่ต้องร่วมกันขับเคลื่อนป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไฟป่าในพื้นที่อำเภอเชียงดาว ซึ่งที่ผ่านมาสถิติการจุด Hot Spot หรือจุดเผาไหม้ในพื้นที่เชียงดาวมีสถิติลดลงเป็นอย่างมากราว 70-80% ซึ่งต้องช่วยกันขับเคลื่อนต่อในอีก 2 เดือนนี้ ก็ต้องขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ช่วยกันในการป้องกัน เฝ้าระวัง” รอง ผวจ.เชียงใหม่ กล่าว

ccec5af793b2cc59f67995c9ea581eb1.jpg

นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รอง ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวอีกว่า นโยบายอันเป็นข้อสังการที่สำคัญก็คือ การงดเผาโดยเด็ดขาดในพื้นที่เขตป่าสงวน เขตป่าอนุรักษ์ ซึ่งหากเกิดไฟแล้วยากที่จะควบคุม โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมต่อเนื่องเดือนเมษายน ส่วนการบริหารจัดการพื้นที่ที่เป็นที่ทำกินยังคงอะลุ่มอล่วยให้พี่น้องประชาชนสามารถบริหารจัดการเชื้อเพลิงได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ ซึ่งกลุ่มนี้ก็จะต้องหารือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ ในพื้นที่นั้นๆ ก่อน โดยให้ทำข้อมูลผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านฯ เพื่อให้ทางอำเภอพิจารณาอนุญาต

1bee5fa054256aa430a9b03b7012b3da.jpg

ทั้งนี้ก่อนลงพื้นที่ป่าชุมชนหมู่ที่ 8 ต.แม่ก๊ะ ของคณะ นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รอง ผวจ.เชียงใหม่ ได้มีการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานภายใต้ศูนย์บัญชาการฯ จ.เชียงใหม่ และศูนย์ปฏิบัติการฯ อ.เชียงดาว ภายใต้การอำนวยการของ นายสงัด บูรณภัทรโชติ นายอำเภอเชียงดาว ซึ่งมอบหมายให้ นายรัชพล แก้วจิตคงทอง ปลัดอำเภอฝ่ายงานป้องกัน อ.เชียงดาว รายงานสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันในพื้นที่อำเภอเชียงดาว โดยสรุปว่า ปี 2565 อำเภอเชียงใหม่กำหนดเป้าหมายให้ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก ปี 2562-2564 จำนวน 25 % จุดความร้อน Hot Sport ไม่เกิน 1,515 จุด โดยใช้กลไกการดำเนินการที่นอกเหนือจาการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ อำเภอ ซึ่งเป็นศูนย์กลางบัญชาการสถานการณ์ โดยมีนายอำเภอเป็น Single Command ยังมีหน่วยงานความมั่นคงในการจัดชุดลาดตระเวนกดดันในพื้นที่เสี่ยงและสนับสนุนการดับไฟป่า พร้อมกันนี้ได้มีการจัดชุดเฉพาะกิจอำเภอเพื่อเข้าเผชิญเหตุเมื่อได้รับการร้องขอ รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่

“ที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการฯ อำเภอเชียงดาวย ได้จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุไฟป่าอำเภอเชียงดาว เบอร์โทร 093 070 6922 ซึ่งโทรแจ้งเหตุไฟป่าได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกันนั้นได้มีการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุไฟป่าในทุก อปท. ด้วย ทั้งนี้ในห้วงวันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงวันที่ 8 มี.ค. 65 พบจุดความร้อนในพื้นที่ อ.เชียงดาว รวม 134 จุด เกิดมากที่สุดในพื้นที่ ต.ปิงโค้ง เกิด 65 จุด ทั้งนี้เกิดน้อยกว่าปี 2564 ซึ่งเกิดขึ้นรวม 444 จุด ลดลง 70%” ปลัดอำเภอฝ่ายงานป้องกันอำเภอเชียงดาว รายงาน

07376f8540a270508ac62a3bc04d3662.jpg
34038549ec66f1d8fc465288f40e6070.jpg
f730def581c984bd3a880efcc9394417.jpg
ec2a26baa043336d9da5da51264e7f10.jpg