เปิดแผนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของไทย จำนวน 4 เส้นทาง สายเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คาดแล้วเสร็จ ปี 2580
วันที่ 13 ก.ย. 65
โครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงของไทยถูกวางแผนไว้ว่าจะใช้รางเกจมาตรฐาน 1,435 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นเกจมาตรฐานที่ทางรถไฟส่วนใหญ่ของโลกเลือกใช้ แบ่งออกได้ทั้งหมด 4 เส้นทาง มีระยะทางทั้งหมดรวมกัน 2,700 กิโลเมตร ดังนี้สายอีสาน กรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย เชื่อมโยงประเทศลาว
โครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน รองรับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วปกติ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีระยะทาง 250 กิโลเมตร เชื่อม 6 สถานีคือ บางซื่อ-ดอนเมือง-อยุธยา-สระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมา กำหนดเปิดให้บริการ พ.ศ. 2569
ระยะที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย โครงการอยู่ในขั้นตอนการวางแผน มีระยะทาง 357 กิโลเมตร เชื่อม 6 สถานีคือ นครราชสีมา-บัวใหญ่-บ้านไผ่-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย กำหนดเปิดให้บริการ พ.ศ. 2572 – 2573
รถไฟสายนี้ จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงไปยังเส้นทางรถไฟลาว-จีน
สายตะวันออก กรุงเทพ-ตราด
โครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก รองรับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วปกติ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพ-อู่ตะเภา โครงการอยู่ในขั้นตอนการเตรียมงานก่อสร้าง มีระยะทาง 220 กิโลเมตร เชื่อม 9 สถานีคือ ดอนเมือง-บางซื่อ-มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ศรีราชา-พัทยา-สนามบินอู่ตะเภา คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2572
ระยะที่ 2 เส้นทางอู่ตะเภา-ตราด โครงการอยู่ในขั้นตอนการวางแผน มีระยะทาง 190 กิโลเมตร เชื่อม 5 สถานีคือ สนามบินอู่ตะเภา-ระยอง-แกลง-จันทบุรี-ตราด คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2580
สายเหนือ กรุงเทพ-เชียงใหม่
โครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ รองรับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วปกติ 300 กิโลเมตร/ชั่วโมงแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก โครงการอยู่ในขั้นตอนการเตรียมงานก่อสร้าง มีระยะทาง 380 กิโลเมตร เชื่อม 7 สถานีคือ บางซื่อ–ดอนเมือง–อยุธยา–ลพบุรี–นครสวรรค์–พิจิตร-พิษณุโลก คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2575
ระยะที่ 2 เส้นทางพิษณุโลก-เชียงใหม่ โครงการอยู่ในขั้นตอนการวางแผน มีระยะทาง 288 กิโลเมตร เชื่อม 6 สถานีคือ พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-ลำปาง–ลำพูน-เชียงใหม่ คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2580
สายใต้ กรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ (มาเลเซีย)
โครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายใต้ รองรับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็วปกติ 300 กิโลเมตร/ชั่วโมงแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน โครงการอยู่ในขั้นตอนการเตรียมงานก่อสร้าง มีระยะทาง 211 กิโลเมตร เชื่อม 5 สถานีคือ บางซื่อ-นครปฐม-ราชบุรี-เพชรบุรี-หัวหิน คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2575
ระยะที่ 2 เส้นทางหัวหิน-ปาดังเบซาร์ โครงการอยู่ในขั้นตอนการวางแผน มีระยะทาง 759 กิโลเมตร เชื่อม 8 สถานีคือ หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช-พัทลุง-หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ คาดว่าจะเสร็จ พ.ศ. 2580