เช็กอาการเบื้องต้น “โรค FOMO” อาการเสพติดเรื่องคนอื่น / กลัวการตกข่าว ตกกระแส

52

FOMO (Fear Of Missing Out) คือ อาการของคนที่กลัวการตกข่าว กลัวตกกระแส อีกทั้งกลัวการไม่เป็นที่ยอมรับ และกลัวไม่ได้เป็นคนสำคัญ จึงต้องคอยอัพเดทเช็กข่าวสารตลอดเวลา จนทำให้เกิดความเครียด

🔍 อาการนี้พบมากในหมู่ ‘วัยรุ่น’ เพราะเป็นช่วงที่สมองส่วนอารมณ์กำลังพัฒนา แต่สมองส่วนเหตุผลยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นวัยที่กำลังค้นหาตัวเอง อยากเป็นที่ยอมรับ และอยากมีความสำคัญ โดยส่วนใหญ่คนที่มีอาการ FOMO มักจะไม่รู้ตัวเอง เพราะคิดว่าเป็นการติดตามข่าวสารปกติไม่ได้ถึงขั้นเสพติด นอกจากนี้อาการ FOMO ยังเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาและโรคร้ายอื่น ๆ ดังนี้
– โรคหลงตัวเอง
– รับฟังคนอื่นได้น้อยลง
– โกรธแค้นง่าย เมื่อไม่ได้ดั่งใจ
– โรคซึมเศร้า

👉🏻 เช็กอาการเบื้องต้น
– เสพติดแพลตฟอร์ม Facebook , Twitter , Instagram , Tiktok หรืออื่นๆ ตลอดเวลา
– กลัวตกข่าวและไม่ทันกระแส ต้องตามเก็บทุกดราม่า
– อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิด เมื่อไม่ได้เล่นโซเชียล
– ใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชม./วัน
– กังวลเมื่อถูกคอมเมนต์ในเชิงลบ หรือโดนตำหนิในโซเซียล
– ชอบเปรียบเทียบตัวเองกับคนบนโลกออนไลน์ และด้อยค่าตัวเอง

📊 โดยจากการวิจัยพบว่า 64% มีอาการ FOMO เมื่อไม่ได้เล่นอินเตอร์เน็ต โดย 80% เป็นชาวเอเชีย และอีก 56% กลัวการตกข่าว หากไม่ได้เข้ามาเช็คหรืออัพเดทบ่อย ๆ

📖 นอกจากอาการ ‘FOMO’ ที่มากับการเสพติดโซเชียลมากจนรบกวนการดำเนินชีวิตแล้ว ชาวโซเชียลทั้งหลายอาจสุ่มเสี่ยงต่อ ‘Headline Stress Disorder’ หรือภาวะเครียดและวิตกกังวลจากการเสพข่าว หรือดราม่าผ่านสื่อต่าง ๆ มากเกินไป หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า ชอบเผือกเรื่องชาวบ้านมากนั่นเอง ซึ่งภาวะนี้สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ จนนำไปสู่อาการไม่พึงประสงค์ เช่น ใจสั่น แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือโกรธได้ เพราะฉะนั้นควรตามเผือกแต่พอดี 🍠

ที่มา : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์