เชียงใหม่ออกหนังสือด่วน เตือนทั้งจังหวัดรับมือพายุฤดูร้อน ช่วง 12-14 มี.ค. 66 นี้
กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) มีหนังสือในราชการ กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ด่วนที่สุด ที่ มท (กปภก) 0610/ว 33 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2566 แจ้งว่า ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง กอปรกับกรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีประกาศฉบับที่ 1 (71/2566) ลงวันที่ 9 มีนาคม 2566 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า บริเวณความกดอากาศสูง กําลังปานกลางจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ทําให้มีพายุฤดูร้อน เกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง บริเวณภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2566
เพื่อเป็นการเน้นย้ําให้พื้นที่เตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ดังกล่าว จึงให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอําเภอ/เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลเมืองทุกแห่ง และประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ ดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ให้ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสาร จากทางราชการ และเฝ้าระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และอันตรายจากฟ้าผ่า หากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย ให้สั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบ ประกาศแจ้งเตือนประชาชน เตรียมความพร้อม เครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง
2. หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือ เมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ สามารถแจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1784 หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยดําเนินการ เพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และไลน์ “ศูนย์ บชก เหตุการณ์ เชียงใหม่ (ช่องรายงาน)” หรือแจ้งผ่าน Application พ้นภัย ตลอด 24 ชั่วโมง
3. ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่มีในพื้นที่ เช่น หอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับ สัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม เพื่อแจ้งเตือนประชาชน
4. หากเกิดสถานการณ์สาธารณภัยในพื้นที่ ให้ดําเนินการให้ความช่วยเหลือ และให้ประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พลเรือน ทหาร ตํารวจ เครือข่ายอาสาสมัคร จิตอาสา หรือศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต 10 ลําปาง ร่วมปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติ พร้อมทั้งรายงาน สถานการณ์ ให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ทราบทันที เพื่อจะได้รายงานให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางทราบต่อไป
ทั้งนี้ ให้ผู้อํานวยอําเภอการแจ้งเทศบาลตําบล และองค์การบริหารหารส่วนตําบลดําเนินการด้วย