“GISTDA” รายงาน 27 มี.ค. 66 จุดความร้อนไทยพุ่งถึง 5.5 พันจุด สูงสุดในรอบปี 5 ที่ผ่านมา
GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 26 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อนมากที่สุด 5,572 จุด สูงสุดในรอบปี 5 จากการเก็บสถิติที่ผ่านมา ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างพม่ายังครองแชมป์สูงสุงถึง 10,563 จุด ตามด้วย สปป.ลาว 9,652 บาท, กัมพูชา 1,342 จุด, เวียดนาม 870 จุด และ มาเลเชีย 22 จุด
สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบในพื้นป่าอนุรักษ์ 2,982 จุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,785 จุด , พื้นที่เกษตร 376 จุด, พื้นที่ชุมชนอื่นๆ 207 จุด , พื้นที่เขต สปก. 202 จุด , และพื้นที่ริมทางหลวง 20 จุด ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับ คือ น่าน 638 จุด แม่ฮ่องสอน 558 จุด และ อุตรดิตถ์ 430 จุด
สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น