แรงงานไทยหนี้บาน เฉลี่ย 2.7 แสนบาทต่อครัวเรือน สูงสุดในรอบ 14 ปี เหตุรายได้ไม่พอรายจ่าย ค่าครองชีพสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพแรงงานไทย กรณีศึกษาผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท พบว่า แรงงานส่วนใหญ่ 99.1% มีหนี้ จากปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ทำให้มีภาระหนี้ที่สูงขึ้น ตามค่าครองชีพที่สูง โดยมีการกู้เงินเพิ่ม เพื่อใช้ชำระหนี้ จึงก่อให้เกิดหนี้สะสม โดยภาระหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทยในปีนี้ ขยายตัวถึงร้อยละ 25.05 คิดเป็นมูลค่าหนี้ ต่อครัวเรือนสูงถึง 272,528 บาท สูงสุดในรอบ 14 ปี สูงกว่าปีที่แล้วที่เฉลี่ยอยู่ที่ 2.1 แสนบาท หรือ เพิ่มขึ้นถึง 6 หมื่นบาทต่อครัวเรือนในปีนี้ มีภาระผ่อนชำระต่อเดือน 8,577 บาท ทำให้มีการผิดชำระหนี้มากขึ้น โดยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา แรงงานที่ผิดชำระหนี้เพิ่มขึ้นจาก 31.5% เป็น 41.5% ที่น่ากังวลคือกลุ่มหนี้บัตรเครดิต ที่ส่วนใหญ่ 68% ชำระหนี้ขั้นต่ำ และส่วนใหญ่ 73.5% ไม่มีการเก็บออม
แต่อย่างไรก็ตาม นายธนวรรธน์ มองว่า ปัจจุบันที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ตัวเลขหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ ไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงมากเกินไป และแรงงานเป็นหนี้เพื่อให้ได้สินค้าคงทนถาวร เช่น บ้าน ซึ่งการ กลับมาของอัตราหนี้มาจากหลายปัจจัย เช่น การลงทุนเพื่อประกอบอาชีพ รวมถึงหนี้นอกระบบที่เข้ามาอยู่ในระบบ ซึ่งในขณะเดียวกันยังส่งผลให้หนี้นอกระบบลดลงถือเป็นสัญญาณดีที่