ไขข้อสงสัย MOU คืออะไร? ทำไม “ก้าวไกล” ต้องนำมาใช้ในการจัดตั้งรัฐบาล 2566

1346

19 พ.ค. 66 – หลังจากการเลือกตั้งผ่านไป ผลการลงคะแนนได้ออกมาแล้ว โดยพรรคก้าวไกลได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก จำนวนกว่า 314 เสียง (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พ.ค. 66 15.05 น.) พร้อมมีการเตรียมจัดการลงนามในบันทึกความเข้าใจ MOU ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งใหม่ในแวดวงการเมืองของไทย เชื่อว่าหลายคนเกิดความสงสัยว่า MOU ที่ว่าคืออะไร วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกัน

ภาพถ่ายฟรีของ การจับมือกัน

บันทึกความเข้าใจ หรือ เอ็มโอยู (MOU-Memorandum Of Understanding) เป็นหนังสือ ซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด และตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง

โดยที่หนังสือนี้ ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้ เช่น สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทำบันทึกความเข้าใจกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา

ขณะที่ บันทึกข้อตกลง (Memorandum Of Agreement) อันเป็นหนังสือหรือสัญญา ซึ่งมีข้อความที่ระบุ เป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นข้อกติกา ข้อที่นัดหมายกันไว้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จึงมีใช้ได้ทั้ง 2 คำ แต่จะใช้บันทึกความเข้าใจมากกว่า เช่น MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยกับส่วนราชการ ในการแลกเปลี่ยนวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ที่มา : นฤมล บุญแต่ง นักวรรณศิลป์ 7 ว จากกองธรรมศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน