เชียงใหม่ กรมศิลป์ฯ เร่งขุดแต่งทางโบราณคดีและสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ “ประตูช้างเผือก” กำหนดแล้วเสร็จเดือนตุลาคมนี้ ก่อนดำเนินการบูรณะซ่อมแซม

545

เชียงใหม่ กรมศิลป์ฯ เร่งขุดแต่งทางโบราณคดีและสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ “ประตูช้างเผือก” กำหนดแล้วเสร็จเดือนตุลาคมนี้ ก่อนดำเนินการบูรณะซ่อมแซม

ความคืบหน้าการก่อสร้างบูรณะพื้นที่บริเวณประตูช้างเผือก ที่ล่าสุดวันนี้ (14 มิถุนายน 2566) บรรดาคนงานต่างช่วยกันขุดหลุมจำนวนหนึ่งบริเวณพื้นลานด้าหหน้าประตูช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แต่ละหลุมมีขนาดกว้างประมาณ 5 x 3 เมตร และลึกลงไป 2.5 เมตร ที่สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ต้องการทางหาแนวกำแพงและประตูเดิม โดยใช้การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ด้วยวิธีเรดาห์ทะลุผ่านพื้นดิน หลังจากที่ประตูช้างเผือกได้ถล่มลงจนเสียหาย ช่วงเดือนกันยายน 65 ที่ผ่านมา

blank

ทางด้าน นางสาวนาตยา ภูศรี ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เปิดเผยว่า หลังจากที่กำแพงประตูช้างเผือกในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ได้ถล่มลง ทางสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ดำเนินการขุดสำรวจบริเวณกำแพงเดิมที่ถล่มเสียหาย เพื่อหาแนวกำแพงและประตูเดิม โดยใช้การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ด้วยวิธีเรดาห์ทะลุผ่านพื้นดิน ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าทางการขุดค้นแล้ว กว่าร้อยละ 25 โดยค้นพบว่าแนวประตูช้างเผือกเดิมมีความกว้างน้อยกว่าในปัจจุบัน และมีลักษณะเป็นประตูสองชั้น ทั้งยังมีความคลาดเคลื่อนของแนวประตูเดิม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะทำต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนตุลาคม 66 นี้จากนั้นจะนำข้อมูลทางวิชาการที่ได้ มาหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อหาข้อสรุปในการออกแบบ และนำไปสู่การบูรณะซ่อมแซมประตูช้างเผือกต่อไป

blank

ทั้งนี้จากการสังเกตการขุดบริเวณโบราณสถานดังกล่าว พบว่ามีชั้นดินที่แตกต่างตามกาลเวลาชัดเจนหลายหลุม นอกจากนี้ยังขุดพบซากกระเบื้องหลังคาดินเผาโบราณ และอีกส่วนหนึ่งที่พบมากคือเศษถ้วยจานเซรามิกในสมัยโบราณ ซึ่งเบื้องต้นต้องส่งให้กับทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ที่ 7 ตรวจสอบยุคสมัยของสิ่งของที่ขุดพบได้ที่บริเวณประตูช้างเผือกต่อไป

blank blank blank blank blank blank blank blank