เปิดแล้ว งาน Chiang Mai Crafts Forum 2019

836


ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ (
OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นหนึ่งในภารกิจที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เนื่องด้วยเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ  โดยรัฐบาลได้จัดให้มีกลไกการบริหาร คือ คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ภายใต้ระเบียบกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรีและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วประเทศ และในปี 2562 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินงาน “โครงการพัฒนาเครือข่ายงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์เชียงใหม่”(Crafts and Creative Folk Art Network Development Project :  CC Net) ที่ได้หยิบยกและดึงเอาจุดเด่น อัตลักษณ์ของผลงานด้านศิลปหัตถกรรมในชุมชนท้องถิ่น มาเชื่อมโยงกับคุณค่าของทองคำเปลวซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เป็นศิริมงคล  เพื่อผสมผสานสร้างสรรค์ชิ้นงานให้มีมูลค่ายิ่งขึ้น อีกทั้งยังเชื่อมร้อยกับบริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

โดยการส่งเสริมการออกแบบหัตถกรรมโดยใช้ทองคำเปลวประดับ ซึ่งมีครูภูมิปัญญาเชียงใหม่ และนักออกแบบรุ่นใหม่ที่รังสรรค์ผลงาน ทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย และ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (UNESCO Creative Cities Network Crafts and Folk Art) ในปี 2562 ทางโครงการพัฒนาเครือข่ายงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (CC Net) จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์งานหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่และยกระดับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์อันเป็นสากล ในวันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2562 ณ โครงการวันนิมมาน (ONE NIMMAN)เวลา 09.30 – 20.00 น. ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้

1. กิจกรรมร่วมกับชุมชนหัตถกรรมของจังหวัดเชียงใหม่โดยรูปแบบกิจกรรมเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชน 3 ชุมชน ได้แก่ บ้านแม่วาง อำเภอแม่วาง, ชุมชนต้นเปา อำเภอสันกำแพง, บ้านถวาย อำเภอหางดง
2. ประชุมวิชาการนานาชาติ “Chiang Mai Crafts Forum 2019” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงาน ของสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO และกลุ่มงานหัตถกรรมโลก World Crafts Council
3. งานแสดงผลงานหัตถกรรมจากโครงการพัฒนาเครือข่ายหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์เชียงใหม่ ที่รังสรรค์โดยผสานการใช้ทองคำเปลวกับงานหัตถกรรมม ในชื่องาน “One Craft One Gold” บริเวณลานกิจกรรม One Square

Chiang Mai Crafts Forum 2019

 

จังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ในวันที่ 31 ตุลาคม 2560 โดยเป็นการส่งเสริมงานหัตถกรรมที่เป็นทุนทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ของเมืองเชียงใหม่ ที่สามารถขับเคลื่อนเมืองในเรื่องของงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ ช่างฝีมือ แสดงให้กับนานาประเทศได้รับทราบ ถึงอัตลักษณ์อันโดดเด่นนี้ เพื่อหารือและขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลกและการก้าวต่อไปของ เชียงใหม่ จึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนระหว่างคณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญในระดับประเทศ และนานาชาติ ด้านการอนุรักษ์, การออกแบบ และ พัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์ ให้เป็นที่รับรู้และยอมรับในระดับสากล โครงการพัฒนาเครือข่ายงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์เชียงใหม(Crafts and Creative Folk Art Network Development Project :  CC Net) จึงมีวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมนานาชาติ “Chiang Mai Crafts Forum 2019” ครั้งนี้เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การทำงานของสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยั่งยืน (SDGs) ในการประชุมครั้งนี้ได้มีสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO จำนวน 7 เมืองและ 3 เมือง ในการส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ และ งานหัตถกรรม ได้แก่

1. เมืองภูเก็ต ประเทศไทย ด้านอาหาร(Gastronomy)
2. เมืองบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์ สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

(City of Crafts and Folk Art)

3. เมืองจิงเต๋อเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

(City of Crafts and Folk Art)

4. เมืองวูฮัน สาธารณรัฐประชาชนจีน สาขาการออกแบบ (Design)
5. เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น สาขาการออกแบบ (Design)
6. เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น สาขาการออกแบบ (Design)
7. เมืองซาซาย่าม่า ประเทศญี่ปุ่น สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

(City of Crafts and Folk Art

8. กลุ่มหัตถศิลป์โลก (world crafts council)
9. พื้นที่เมืองสร้างสรรค์ (Pop Up Asia Taiwan)
10. กลุ่มคนรุ่นใหม่ในการทำงานหัตถกรรมของ Taiwan