รู้สึกเหมือนกันไหม? เดือน “มกราคม” ทำไมยาวนานมาก นักวิจัยเผยเกี่ยวข้องกับ “ความสุข”

869

William Skylark นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อธิบายว่า เวลาในความรู้สึกมีตัวชี้วัดที่ค่อนข้างเปราะบางเมื่อเทียบกับเวลาที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลต่อเวลาในความรู้สึกได้

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อนาฬิกาสมองคือ “ฮอร์โมนโดพามีน” (Dopamine) ที่จะหลั่งออกมาเวลาที่มีความสุข ดังนั้นเมื่อเรามีความสุขเวลาจึงเหมือนผ่านไปเร็วขึ้น และในทางตรงกันข้ามหากเราไม่มีความสุข จะรู้สึกว่าเวลาเดินช้า

จากผลการวิจัยระบุว่า เดือนมกราคมเป็นช่วงเวลาที่มีการหลั่งโดปามีนออกมาน้อยกว่า 2 เดือนก่อนหน้า คือเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม เนื่องจากมีวันหยุด และมีกิจกรรมตลอดเดือน จึงทำให้ 2 เดือนนี้ร่างกายมีการหลั่งสารโดปามีนโดยรวมมากที่สุด

ทั้งนี้ในทำนองเดียวกันกับความรู้สึกที่ว่า “ทำไมถึงรู้สึกว่าเดือนมกราคมถึงนานกว่าเดือนอื่น?” นั่นเป็นเพราะเดือนมกราคมเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ หลังจากที่ทุกคนมีความสุขในช่วงเทศกาลหยุดยาวปีใหม่ ทำให้หลังปีใหม่ต้องกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือทำงาน จึงทำให้รู้สึกไม่สนุกเหมือนช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา

ที่มา : newstatesman