102

แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย! คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดศูนย์เครื่องฉายรังสีแบบเกลียวหมุนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด พร้อมก้าวสู่ศูนย์ฉายรังสีที่มีเครื่องฉายรังสีระบบเกลียวหมุน จำนวนมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

a2h8pC.jpeg

a2hCO8.jpeg

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดศูนย์เครื่องฉายรังสีแบบเกลียวหมุน พร้อมติดตั้งเครื่องฉายรังสีรุ่นใหม่ล่าสุด คือ “Radixact X9” ซึ่งเป็นเครื่องฉายรังสีที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงสุด ทำให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ทั้งหมดถึง 100-120 รายต่อวัน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและจำนวนเครื่องฉายรังสีชนิดเกลียวหมุน ศูนย์ฉายรังสีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมก้าวสู่ศูนย์ฉายรังสีชนิดเกลียวหมุนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

a2ri15.jpeg

a2rHaJ.jpeg

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า การสนับสนุนให้บริการเครื่องฉายรังสีแบบเกลียวหมุนรุ่นใหม่ล่าสุด คือ “Radixact X9” นั้น เป็นการเพิ่มศักยภาพของศูนย์ฉายรังสีของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยวิธีฉายรังสี ทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาดีขึ้น และลดระยะเวลาการรอคอยการเข้ารับบริการฉายรังสี ขณะนี้หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. มีเครื่องฉายรังสีทั้งหมด 4 เครื่อง โดยเป็นแบบเกลียวหมุนจำนวน 3 เครื่อง จึงนับได้ว่าเป็นศูนย์เครื่องฉายรังสีแบบเกลียวหมุนที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดแห่งเดียวในประเทศไทย และมีจำนวนเครื่องฉายรังสีเกลียวหมุนมากที่สุดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่มีความก้าวหน้าทางรังสีรักษามากที่สุดในภาคเหนือ โดยสามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาในการรอคอยเข้ารับบริการฉายรังสี จากเดิมที่ต้องรอนานมากกว่า 2 เดือน เหลือเพียง 1 เดือนเท่านั้น อีกทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ก็สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฉายรังสี ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งของผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) จึงเป็นการเพิ่มความสะดวกและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาด้วยการฉายรังสีได้อีกด้วย

a2h0Sb.jpeg

ด้าน ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพของทีมหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. นั้น นอกเหนือจากศักยภาพด้านบุคลากรและอุปกรณ์ที่ทางหน่วยรังสีรักษาได้ให้บริการผู้ป่วยแล้ว ยังได้พัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยที่ครบวงจร และได้มาตรฐานสากล โดยการันตีด้วยรางวัลต่างๆ มากมาย ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก

a2hkUZ.jpeg

ผศ.พญ.พิชญาภรณ์ กลั่นกลิ่น หัวหน้าหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า นอกเหนือจากการมีเครื่องฉายรรังสีที่ทันสมัยให้บริการหลายเครื่องแล้ว หน่วยรังสีรักษายังมีอาจารย์แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ที่คอยให้บริการทั้งหมด 8 ท่าน โดยอาจารย์ทุกท่านมีความเชี่ยวชาญทางการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีรักษาเป็นอย่างดี และแต่ละท่านยังมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาโรคมะเร็งในแต่ละชนิดที่แตกต่างกันออกไป โดยครอบคลุมโรคมะเร็งทุกชนิดที่มีข้อบ่งชี้ต้องรับการฉายรังสี รวมถึงมีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญอย่างสูงในการฉายรังสีด้วยเทคนิคพิเศษ โดยผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาที่หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในโรคมะเร็งหรือเทคนิคพิเศษนั้นๆ ด้วย

a2hfqX.jpeg
a2hxBD.jpeg
a2h4tS.jpeg
a2hEEL.jpeg
a2hTrY.jpeg
a2hXtf.jpeg
a2hoxB.jpeg
a2rUY7.jpega2raBp.jpega2hqVO.jpeg