25 ม.ค. 67 – สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ประกาศหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 กรณี แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทน รักษาผู้ประกันตนที่ป่วยด้วย “โรคหยุดหายใจขณะหลับ” และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (Continuous Positive Airway Pressure : CPAP)
โดยมีรายละเอียดสำหรับผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ คือ
– ค่าตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ชนิดที่ 1 จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 7,000 บาท
– ค่าตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ชนิดที่ 2 (การตรวจวัดเหมือนชนิดที่ 1 เว้นแต่ไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามขณะหลับ) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 6,000 บาท
– ค่าอุปกรณ์เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (Continuous positive Airway Pressure – CPAP) และอุปกรณ์เสริมสำหรับการรักษาในอัตราที่สำนักงานที่กำหนดอย่าง
– เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า ชุดละ 20,000 บาท
– หน้ากากครอบจมูกหรือปากที่ใช้กับเครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า ชิ้นละ 4,000 บาท
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสิทธิเบิกค่า Sleep test
– ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 จ่ายเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนรับบริการแพทย์
– ผู้ประกันตนมาตรา 38 และ 41 จ่ายเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนรับบริการและคุ้มครองภายใน 6 เดือนหลังจากสิ้นสุดสถานะผู้ประกันตน
ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป