สธ.สั่งเพิกถอน 25 ตำรับยา “พาราเซตามอล” เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันปรากฏพบปัญหาจากการใช้ยาพาราเซตามอลมากขึ้น โดยพบทั้ง อาการไม่พึงประสงค์ในลักษณะการแพ้ยา และอาการผลข้างเคียง เช่น การเกิดพิษต่อตับ จากการใช้ยา ไม่เหมาะสม การได้รับยาซ้ําซ้อน การใช้ยาเกินขนาดโดยไม่ตั้งใจ หรือการใช้ยาร่วมกับการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นความเสี่ยงให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ของผู้ใช้ยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของคณะกรรมการยาในการประชุม ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559 ได้มีคําสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 329/2560 ลงวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2560 ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยา หรือผู้รับอนุญาตนําหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งทะเบียนตํารับยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ชนิดรับประทาน แก้ไขฉลาก และเอกสาร กํากับยาให้เป็นไปตามคําสั่งดังกล่าว
และต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของ คณะกรรมการยาในการประชุมครั้งที่ 386-10/2561 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 ได้มีคําสั่ง กระทรวงสาธารณสุขที่ 204/2562 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ให้ผู้รับอนุญาตที่ยังไม่ได้ยื่น แก้ไขทะเบียนตํารับยาเร่งดําเนินการตามคําสั่งกระทรวงที่ 329/2560 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 แต่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตไม่ดําเนินการแก้ไขทะเบียนตํารับยาดังกล่าวให้เป็นไปตามคําสั่งข้างต้น จํานวน 25 ตํารับ จึงอาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ยาได้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนํา ของคณะกรรมการยาในการประชุมครั้งที่ 389-3/2562 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 จึงมีคําสั่งเพิกถอนทะเบียนตํารับยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ชนิดรับประทาน จํานวน 25 ตํารับ ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้
อนึ่ง หากผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่เห็นด้วยกับคําสั่งนี้ อาจใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ โดยให้ ทําคําฟ้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในเก้าสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป