ปภ. แจ้ง 45 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ช่วงวันที่ 13-18 ก.ย. 67 “เชียงใหม่” อ.จอมทอง อ.ฮอด

438

13 ก.ย. 67 – กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 45 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง คลื่นลมแรง และระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงวันที่ 13 – 18 ก.ย. 67 โดยกำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ สภาพน้ำ ปริมาณฝน และแนวโน้มสถานการณ์ภัย อย่างใกล้ชิด พร้อมจัดทีมปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามพยากรณ์อากาศและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (182/2567) ลงวันที่ 12 กันยายน 2567 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 13 – 17 กันยายน 2567 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนกลาง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น โดยในช่วงวันที่ 14 – 17 กันยายน 2567 ทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร นอกจากนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้มีประกาศฉบับที่ 14/2567 ลงวันที่ 12 กันยายน 2567 แจ้งว่า ได้ติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง พบว่า มีปริมาณฝนตกหนักสะสมในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้ในช่วงวันที่ 12 – 16 กันยายน 2567 ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นที่แจ้งเตือนสถานการณ์ระหว่างวันที่ 13 – 18 กันยายน 2567 แยกเป็น

3.3

พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขัง
– ภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่
แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ อ.ปางมะผ้า อ.ปาย อ.สบเมย)
เชียงใหม่ (อ.จอมทอง อ.ฮอด)
เชียงราย (อ.แม่สาย อ.เชียงแสน อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง)
พะเยา (อ.ปง อ.เชียงคำ อ.จุน อ.ภูกามยาว)
น่าน (อ.ทุ่งช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ปัว อ.บ่อเกลือ อ.เชียงกลาง)
ตาก (อ.ท่าสองยาง อ.แม่สอด อ.พบพระ อ.อุ้มผาง)
กำแพงเพชร (อ.ปางศิลาทอง อ.คลองลาน อ.โกสัมพีนคร อ.พรานกระต่าย)
พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ อ.นครไทย อ.วัดโบสถ์ อ.วังทอง อ.เนินมะปราง)
พิจิตร (อ.โพธิ์ประทับช้าง)
เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ อ.หนองไผ่ อ.หล่มเก่า อ.หล่มสัก)
นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์ อ.แม่เปิน)

– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่
เลย (อ.นาแห้ว อ.เชียงคาน อ.ด่านซ้าย อ.ปากชม)
หนองคาย (อ.เมืองฯ อ.สังคม อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.โพนพิสัย อ.โพธิ์ตาก)
บึงกาฬ (อ.เมืองฯ อ.ปากคาด อ.บุ่งคล้า อ.โซ่พิสัย อ.เซกา อ.บึงโขงหลง)
หนองบัวลำภู (อ.สุวรรณคูหา) อุดรธานี (อ.นายูง อ.น้ำโสม)
สกลนคร (อ.เมืองฯ อ.ภูพาน อ.สว่างแดนดิน)
นครพนม (อ.เมืองฯ อ.ศรีสงคราม)
ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ อ.คอนสาร อ.หนองบัวแดง)
ขอนแก่น (อ.เมืองฯ อ.ภูผาม่าน อ.ชุมแพ อ.บ้านไผ่)
มหาสารคาม (อ.เมืองฯ)
กาฬสินธุ์ (อ.เมืองฯ อ.ยางตลาด อ.ร่องคำ)
มุกดาหาร (อ.เมืองฯ อ.หว้านใหญ่ อ.ดอนตาล)
ร้อยเอ็ด (อ.เมืองฯ อ.เสลภูมิ)
ยโสธร (อ.เมืองฯ อ.ป่าติ้ว อ.คำเขื่อนแก้ว)
อำนาจเจริญ (อ.เมืองฯ อ.ชานุมาน)
นครราชสีมา (อ.ปากช่อง อ.วังน้ำเขียว)
บุรีรัมย์ (อ.เมืองฯ)
สุรินทร์ (อ.เมืองฯ อ.ปราสาท)
ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ อ.ยางชุมน้อย)
อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ อ.วารินชำราบ อ.ตาลสุม อ.น้ำยืน อ.พิบูลมังสาหาร อ.น้ำขุ่น)

– ภาคกลาง 8 จังหวัด ได้แก่
นครนายก (อ.เมืองฯ อ.ปากพลี)
ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี อ.นาดี)
สระแก้ว (อ.เมืองฯ)
ฉะเชิงเทรา (อ.สนามชัยเขต อ.ท่าตะเกียบ)
ชลบุรี (อ.ศรีราชา อ.บางละมุง)
ระยอง (อ.เมืองฯ อ.แกลง อ.บ้านค่าย)
จันทบุรี (อ.เมืองฯ อ.เขาคิชฌกูฏ อ.สอยดาว อ.โป่งน้ำร้อน อ.มะขาม อ.ขลุง)
ตราด (ทุกอำเภอ)

– ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่
ระนอง (ทุกอำเภอ)
พังงา (อ.เมืองฯ อ.คุระบุรี อ.ตะกั่วป่า อ.กะปง อ.ท้ายเหมือง)
ภูเก็ต (ทุกอำเภอ)
กระบี่ (อ.เมืองฯ อ.เหนือคลอง อ.อ่าวลึก อ.คลองท่อม อ.ปลายพระยา อ.เกาะลันตา)
ตรัง (อ.เมืองฯ อ.ปะเหลียน อ.นาโยง อ.กันตัง อ.สิเกา อ.ห้วยยอด อ.วังวิเศษ)
สตูล (อ.เมืองฯ อ.ควนโดน อ.ควนกาหลง อ.ทุ่งหว้า อ.มะนัง)

พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์คลื่นลมแรง
– ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี (อ.เมืองฯ อ.ศรีราชา อ.เกาะสีชัง อ.บางละมุง อ.สัตหีบ) ระยอง (อ.เมืองฯ อ.บ้านฉาง อ.แกลง) จันทบุรี (อ.นายายอาม อ.ท่าใหม่ อ.แหลมสิงห์ อ.ขลุง) และตราด (อ.เมืองฯ อ.แหลมงอบ อ.คลองใหญ่ อ.เกาะช้าง อ.เกาะกูด)
– ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (อ.เมืองฯ อ.สุขสำราญ อ.กะเปอร์) พังงา (อ.เกาะยาว อ.ตะกั่วทุ่ง อ.ท้ายเหมือง อ.ตะกั่วป่า อ.คุระบุรี) ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) กระบี่ (อ.เมืองฯ อ.คลองท่อม อ.เกาะลันตา อ.เหนือคลอง อ.อ่าวลึก) ตรัง (อ.กันตัง อ.สิเกา อ.ปะเหลียน อ.หาดสำราญ) และสตูล (อ.เมืองฯ อ.ละงู อ.ท่าแพ อ.ทุ่งหว้า)

พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น
– ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย (อ.เชียงแสน เชียงของ)
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ เลย (อ.เชียงคาน) หนองคาย (อ.เมืองฯ อ.สังคม อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.โพนพิสัย อ.รัตนวาปี อ.เฝ้าไร่) บึงกาฬ (อ.เมืองฯ อ.ปากคาด อ.บุ่งคล้า อ.บึงโขงหลง อ.เซกา) นครพนม (อ.เมืองฯ อ.บ้านแพง อ.ท่าอุเทน อ.ธาตุพนม อ.เรณูนคร อ.ศรีสงคราม) มุกดาหาร (อ.เมืองฯ อ.หว้านใหญ่ อ.ดอนตาล) อำนาจเจริญ (อ.ชานุมาน) และอุบลราชธานี (อ.นาตาล)